Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4503
Title: การจัดการมลพิษทางอากาศเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Air pollution management for supporting industrial development in Phra Nakhon Si Ayutthaya province
Authors: เทียมดารา จุนเจือ
Advisors: สุรัตน์ บัวเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: มลพิษทางอากาศ
คุณภาพอากาศ
การพัฒนาอุตสาหกรรม -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลการศึกษาแนวทางการจัดการมลพิษทางอากาศเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม ต้องมีการวางนโยบายในระดับประเทศ เพื่อลงไปสู่นโยบายระดับจังหวัด โดยพิจารณาจาก ศักยภาพของที่ดิน ศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรม และอัตราการระบายสารมลพิษทางอากาศ เพื่อลงไปสู่ระดับนิคมอุตสาหกรรมต่อไป โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือของปี 2540 มีสภาวะบรรยากาศเลวร้ายที่สุด โดยมีความเข้มข้นระดับพื้นดินของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นละอองรวม สูงสุดที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ความเข้มข้นระดับพื้นดินของคาร์บอนมอนอกไซด์สูงสุด ที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 1 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 32 ในกรณีลมสงบความเข้มข้นระดับพื้นดินมีค่าสูงกว่าการคำนวณจาก ISCST3 (Industrial Source Complex Short Term 3) และเมื่อมีการเผาที่นาพร้อมกันทุกจุด ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และ ฝุ่นละอองรวม จะสูงกว่าการคำนวณจาก ISCST3มาก เมื่อทำการเก็บตัวอย่างที่แหล่งรับพบว่าสารมลพิษยังมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ยกเว้นฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน และพบว่า อ.ภาชี และ อ.ท่าเรือ เหมาะต่อการขยายตัวมากที่สุด เนื่องจากสามารถระบายมลพิษได้มากกว่าทุกที่ที่ทำการศึกษา โดยมีอัตราการระบายสูงสุดของ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นละอองรวม 2.75X10[superscript 5] 9.11X10[superscirpt 6] และ 1.81X10[superscirpt 6] กรัม/วินาที ตามลำดับ ในขณะที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกัน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ จึงต้องคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนา และการอนุรักษ์พื้นที่เกษตรและสภาพแวดล้อม โดยมีการจัดการแบบผสมผสานกับการใช้ที่ดิน เทคโนโลยีระบบโรงงานอุตสาหกรรม และการคมนาคมเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่จะเกิดขึ้น
Other Abstract: The study result in air pollution management for supporting industrial development should be set in policy from national level to provincial level, and industrial estate level, respectively. From the case study, Phra Nakorn Si Ayutthaya province, during 2540 North-East monsoon, there was the worst case :concentration of Sulphurdioxide and Nitrogendioxide and total particles matter were maximum at Baan Hwa Industrial Estate ; concentration of Carbondioxide is maximum at highway no.1 and no. 32 cross section. When the wind is calm, concentration is higher than the result from ICST3 calculation. Moreover, when there are fields burning at the same time,Carbondioxide and total particle matter are much more than those caculated from ISCST3. From samples collection ,all pollutants values, except PM10, are lower standard. Ampher Phachi and Ampher Tarua are most suitable for supporting industrial development because the air pollutants ventilation rate is better than others. The maximum ventilation rate of SO[subscript 2], NO[subscript 2] and total PM are 2.75X10[superscript 5], 9.11X10[superscript 6] and 1.81X10[superscript 6] g/s, respectively. To reach the aim in industrial development while not create air pollution, it is necessary to concern the balance of development and agricultural area and environmental conservation. Therefore, tend use managements, industrial system technologies and mass transportation are required to complete the purpose
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4503
ISBN: 9741757999
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tiamdara.pdf49.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.