Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45109
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ แรงจูงใจ และทักษะในการคุมกำเนิด กับพฤติกรรมการคุมกำเนิด ของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่น ในเขตภาคใต้ตอนบน
Other Titles: Relationships between information, motivation, contraceptive behavioral skill and contraceptive use of vocational female students in the upper South of Thailand
Authors: เปรมยุดา นาครัตน์
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: คุมกำเนิด
วัยรุ่นหญิง -- พฤติกรรมทางเพศ
นักเรียนอาชีวศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ
Contraception
Teenage girls -- Sexual behavior
Vocational school students -- Sexual behavior
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้ในการคุมกำเนิด ด้านแรงจูงใจได้แก่ ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ การสนับสนุนของคู่นอนในการคุมกำเนิด และปัจจัยด้านทักษะในการคุมกำเนิด ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด กับพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศีกษาหญิงวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงอายุไม่เกิน 18 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอาชีวศึกษา ใน 3 จังหวัด ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 259 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบวัดความรู้ในการคุมกำเนิด แบบสอบถามทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิด และแบบสอบถามพฤติกรรมการคุมกำเนิด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และนำไปหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .67, .87, .86, .88, และ.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ในการคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด และการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง (r =.38, .45, .39, .43 และ .29, p < .05) 2. การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด (β = .25) การรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ (β = .24) ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด (β = .18) และความรู้ในการคุมกำเนิด (β = .15) สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงได้ร้อยละ 34.4
Other Abstract: The purposes of this correlational research were to examine the correlation between contraception information, attitude toward contraception, perceived negative consequences of pregnancy, contraception partner support and contraception self-efficacy and to identify predictive factors of contraception. Two hundred and fifty nine vocational female students in the upper south of Thailand were recruited using multistage random sampling. Data was collected using a self efficacy questionnaire, a contraception information questionnaire, an attitude toward contraception questionnaire, a perceived negative consequences of pregnancy questionnaire, a contraception self-efficacy questionnaire, contraception partner support and contraceptive use questionnaire. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of experts. Their Cronbach’s alpha coefficients were .67, .87, .86, .88, and .88, respectively. Data was analyzed using bivariate correlations and stepwise multiple regression. The results revealed that: 1. Contraception information, attitude toward contraception, perceived negative consequences of pregnancy, contraception self-efficacy and contraception partner support were positively and significantly related to contraceptive use among vocational female students (r = .38, .45 .39, .43 and .29, p < .05). 2. Contraception self-efficacy (β = .25), perceived negative consequences of pregnancy (β = .24), attitude toward contraception (β = .18) and contraception information (β = .15) were significant predictors of contraceptive use. Predictive variables accounted for 34.4% of total variance in contraception.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45109
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
premyuda_na.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.