Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45188
Title: | A comparison between the effects of continuous and interval aerobic training on glycemic control and endothelial dependent vasodilatation in type 2 diabetes patients |
Other Titles: | การเปรียบเทียบผลของการฝึกแอโรบิกแบบต่อเนื่องและการฝึกแอโรบิกแบบสลับช่วงที่มีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและการขยายหลอดเลือดผ่านการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 |
Authors: | Witid Mitranun |
Advisors: | Daroonwan Suksom Chaicharn Deerochanawong Tanaka, Hirofumi |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Sports Science |
Advisor's Email: | [email protected] No information provided |
Subjects: | Aerobic exercises -- Therapeutic use Diabetics Diabetes Blood sugar เบาหวาน เบาหวาน -- ผู้ป่วย น้ำตาลในเลือด แอโรบิก (กายบริหาร) -- การใช้รักษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The objective of this study was to compare the effects of continuous aerobic exercise training (CON) and interval aerobic exercise training (INT) on glycemic control and endothelium-dependent vasodilatation in patients with type 2 diabetes. A total of 43 participants with type 2 diabetes aged 50-70 years were stratified in parallel-group study and randomly allocated to the sedentary control, continuous aerobic training (CON), and interval aerobic training ( INT) groups. Exercise training programs were designed to yield the same energy expenditure/exercise session and included walking on treadmill for 30 or 40 minutes/day, 3 times/week for 12 weeks. Biological variables, health-related physical fitness, endothelial function and biochemistry variables between pre-test and post-test were analyzed by a paired t-test. One way analysis of variance was used to compare the variables among groups. Differences were considered to be significant at p < .05 The results of the present study were as follow : 1. Body mass, BMI, body fatness, waist-to-hip ratio, and heart rate at rest decreased and leg muscle mass and muscle strength increased (all p<0.05) significantly in both the CON and INT groups when compared with pre-test. 2. Fasting blood glucose and insulin resistance levels decreased (p<0.05) in both exercise groups but glycosylated hemoglobin levels decreased (p<0.05) significantly only in the INT group when compared with pre-test. 3. Maximal aerobic capacity, flow-mediated dilation, and cutaneous blood flow increased (all p<0.05) significantly in both exercise groups; however, the magnitude of improvement was greater (p<0.05) significantly in the INT group. 4. Erythrocyte malondialdehyde and serum von Willebrand factor decreased and plasma glutathione peroxidase and nitric oxide increased significantly (all p<0.05) in the INT group. CON group showed no significant changes in these parameters. In conclusion, Both CON and INT were effective in improving glycemic control, aerobic fitness, and endothelium-dependent vasodilation, but the INT program appears to confer greater improvements than the CON program. |
Other Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกแอโรบิกแบบต่อเนื่องและการฝึกแอโรบิกแบบสลับช่วงที่มีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและการขยายหลอดเลือดผ่านการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดในผู้ป่วย เบาหวานประเภทที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 50-70 ปี จำนวน 43 คน แบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน กลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบต่อเนื่อง จำนวน 14 คน และกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วง จำนวน 14 คน โปรแกรมการออกกำลังกายในกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบต่อเนื่องและกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วงถูกออกแบบให้มีการใช้พลังงานและระยะเวลาในการฝึกที่เท่ากัน โดยเป็นการออกกำลังกายครั้งละ 30 หรือ 40 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูลตัวแปรทางสรีรวิทยา สุขสมรรถนะ หน้าที่การทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือด และสารชีวเคมีในเลือด นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยการวิเคราะห์ค่าทีแบบรายคู่ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย มวลไขมัน อัตราส่วนรอบเอวต่อสะโพก และอัตราการเต้นหัวใจขณะพักของทั้งกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบต่อเนื่องและกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วงมีค่าลดลง ส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มมากขึ้นในทั้งกลุ่มออกกำลังกายทั้งสองกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. น้ำตาลในเลือดและความดื้อต่ออินซูลินมีค่าลดลงในกลุ่มออกกำลังกายทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เฉพาะกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วงที่มีค่าไกลโคซีเลทฮีโมโกลบินลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3. อัตราการใช้ออกซิ เจนสูงสุด การไหลของเลือดผ่านการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือด และการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียส เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองในกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบต่อเนื่องและกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วงมีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่กลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วงมีการเพิ่มขึ้นของค่าดังกล่าวมากกว่ากลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05. 4. มาลอนไดอัลดีไฮด์ และวอนวิลลิแบนด์แฟคเตอร์ในเม็ดเลือดแดงลดลง กลูต้าไทโอนเพอรอกซิเดส และไนตริกออกไซด์ในพลาสมามีค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มออกกำลังกาย แอโรบิกแบบต่อเนื่องไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าดังกล่าว สรุปได้ว่า การฝึกออกกำลังกายแอโรบิกแบบต่อเนื่องและการฝึกออกกำลังกายแอโรบิกแบบสลับช่วงมีประสิทธิภาพในการพัฒนาการควบคุมระดับน้ำตาล สุขสมรรถนะ และหน้าที่การทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือด แต่การฝึกออกกำลังกาย แอโรบิกแบบสลับช่วงให้ผลที่ดีกว่าการฝึกแอโรบิกแบบต่อเนื่อง |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2012 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Sports Science |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45188 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.237 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.237 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
witid_mi.pdf | 4.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.