Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4520
Title: ผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สามโดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk
Other Titles: Effects of alternated flooding and drying on tertiary municipal wastewater treatment efficiency by Rhizophora mucronata Lamk. artificial wetlands
Authors: กฤติกา ทองสมบัติ
Advisors: กนกพร บุญส่ง
สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: น้ำเสียชุมชน
น้ำเสีย -- การบำบัด
พื้นที่ชุ่มน้ำ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สาม โดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ แบ่งชุดทดลองตามปัจจัยต่างๆ 4 ปัจจัย คือ ระยะเวลากักเก็บน้ำเสีย (5, 7 และ 10 วัน) ระยะเวลาปล่อยให้แห้ง (3, 5 และ 7 วัน) ชนิดดิน (ดินเลน และดินเลน : ทราย (1:1)) และชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่และชุดควบคุมที่ไม่ปลูกพืช ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทั้ง 4 มีผลต่อความสามารถในการบำบัดน้ำเสียชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่และชุดควบคุมที่ไม่ปลูกพืช ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทั้ง 4 มีผลต่อความสามารถในการบำบัดน้ำเสียชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนมีระยะเวลากักเก็บน้ำ 10 วันปล่อยให้แห้ง 7 วัน สามารถบำบัดทีเคเอ็น แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสทั้งหมดและออร์โธฟอสเฟตได้ดีที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การบำบัด 95.96, 98.49, 77.75 และ77.71% ตามลำดับ และชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนมีระยะเวลากักเก็บน้ำ 7 วันปล่อยให้แห้ง 5 วัน มีเปอร์เซ็นต์การบำบัดบีโอดีสูงสุด คือ 95.39% สำหรับปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมด มีเปอร์เซ็นต์การบำบัดสูงสุด คือ 94.20% ในชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลน : ทรายที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 7 วันปล่อยให้แห้ง 3 วัน อย่างไรก็ตามในการเลือกรูปแบบทดลองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ควรเลือกชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนมีระยะเวลากักเก็บน้ำ 7 วันปล่อยให้แห้ง 5 วัน เพราะที่ระยะเวลากักเก็บน้ำ 10 วันกล้าไม้โกงกางใบใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำที่สุด ด้านสมบัติของดิน พบว่าปริมาณทีเคเอ็นและฟอสฟอรัสทั้งหมด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในดินเบนจะมีปริมาณสูงกว่าในดินเลน : ทราย ส่วนปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน เพิ่มขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และไม่มีความแตกต่างระหว่างชนิดดิน ปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนลดลงภายหลังการทดลองและไม่มีความแตกต่างระหว่างชนิดดิน การศึกษาค่า E[subscript H] ในดิน ทำการวัดค่าที่ 2, 7 และ 10 ซ.ม. จากผิวดิน พบว่าในช่วงการกักเก็บน้ำ ค่า E[subscript H] ลดลงเมื่อระยะเวลากักเก็บน้ำและระดับความลึกจากผิวดินเพิ่มขึ้น ในช่วงระยะเวลาปล่อยให้แห้งค่า E[subscript H] เพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาปล่อยให้แห้งเพิ่มขึ้นและลดลงตามระดับความลึกจากผิวดินที่เพิ่มขึ้น แต่ค่าทั้งหมดไม่แตกต่างกันมากนัก ชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ และชุดดินเลน : ทรายจะมีค่า E[subscript H] สูงกว่าชุดควบคุม และชุดดินเลน ตามลำดับ สำหรับการศึกษากล้าไม้ พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตทางความสูง สูงที่สุดในดินเลน ที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 3 วัน และมีปริมาณทีเคเอ็นเพิ่มขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนของระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำและระยะเวลาปล่อยให้แห้งที่เหมาะสม จะให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียชุมชนสูง
Other Abstract: Effects of alternated flooding and drying on tertiary municipal wastewater treatment efficiency by Rhizophora mucronata Lamk. artificial wetlands was designed by dividing into 4 factors; retention time (5, 7 and 10 days), drying time (3, 5 and 7 days), soil textures (soil and soil : sand (1:1)) and plant (planted with R. mucronata seedings and a control without plant). The result showed that ability of municipal wastewater treatment significantly effected by all factors (p<0.05). The best experimental set was found in retention time of 10 days, drying time of 7 days and planted with R. mucronata with the romoval percentage of total Kjeldahl nitrogen (TKN), ammonia-nitrogen total phosphorus and ortho-phosphate of 95.96, 98.49, 77.75 and 77.71 respectively. For the highest BOD removal (95.39%) was found in experimental set of retention time of 7 days, drying time of 5 days and planted with R. mucronata in soil. The highest TSS removal (94.20%) was found in experimental set of retention time of 7 days, drying time of 3 days and planted with R. mucronata in soil : sand. However, the growth rate of R. mucronata was lowest at 10 days retention time. Thus, the 7 days retention time would be the best experimental set. Teh TKN and total phosphorus had no change after the experiment. However, the higher concentration was found in soil than in soil : sand. Nitrate-nitrogen significantly increased after the experiment (p<0.05), whereas ammonia-nitrogen in all soil textures significantly decreased after the experiment. According to the measurements of redox potentials (E[subscript H]) at 2, 7 and 10 centimeters soil depth, the results indicated that E[subscript H]) decreased as the retention time and soil depth increased and E[subscript H]) increased as the drying time increased. The highest growth rate of R. mucronata was found in experimental set using mangrove soil with 3 days retention time. The TKN in leaf significantly increased after the experiment (p<0.05). The results suggested that R. mucronata planted in suitable soil texture and appropriate alternated flooding and drying time showed high eficiency of municipal wastewater treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4520
ISBN: 9741754639
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krittika.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.