Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45247
Title: การจำลองและขยายกำลังการผลิตของกระบวนการผลิตฟีนอลจากคิวมีน
Other Titles: Simulation and increase production capacity of phenol product from cumene process
Authors: ณัฐวิชช์ พงศ์สิริภควัต
Advisors: สุรเทพ เขียวหอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ฟีนอล
ตัวเร่งปฏิกิริยา
กระบวนการทางเคมี
Phenol
Catalysts
Chemical processes
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทความนี้นำเสนอการศึกษาการขยายกำลังการผลิตของกระบวนการผลิตฟินอลจากคิวมีน โดยเริ่มจากการสร้างแบบจำลองของกระบวนการผลิตฟีนอลจากสารคิวมีน และสอบทานแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลของการผลิตจริงที่กำลังการผลิตร้อยละ 100, 110 และ 115 ของกำลังการผลิตปกติ จากนั้นจำลองกระบวนการผลิตที่กำลังการผลิตร้อยละ 120 และ 125 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการผลิตที่กำลังการผลิตดังกล่าว โดยศึกษาอัตราการผลิตที่ได้ การควบคุม และพลังงานที่ใช้ในแต่ละหน่วย รวมทั้งข้อกำหนดเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จากนั้นได้ศึกษากรณีศึกษาที่กำลังผลิตร้อยละ 125 ของกำลังการผลิตปกติ โดยพิจารณากรณีที่สมมติให้มีไดเมทิลฟีนิล คาร์บินอล เกิดขึ้นภายในเครื่องปฏิกรณ์ในปริมาณ 1.5 และ 2 เท่าของสภาวะการดำเนินงานปกติ พบว่าการดำเนินการที่กำลังการผลิตร้อยละ 125 ของกำลังการผลิตปกติมีความเป็นไปได้ และพบว่าข้อจำกัดสำคัญของกระบวนการผลิตคือปริมาณ ไดเมทิลฟีนิล คาร์บินอล ที่เกิดขึ้นในเครื่องปฏิกรณ์ต้องไม่เกินร้อยละ 1.45 โดยมวล ซึ่งอาจส่งผลต่อการกลั่นแยก และส่งผลกระทบต่อข้อจำกัดเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
Other Abstract: To study the capacity expansion of the cumene process for phenol-acetone production. The model for the cumene process is developed and then validated by real industrial data at 100%, 110% and 115% of nominal production rate. The model developed is used to simulate the operation at 120% and 125% of nominal production rate in order to evaluate the possibility of operation at these production rates. We investigate the production rate, controllability and energy consumption in each unit. In addition, product quality specification is also studied. We then further investigate the production rate at 125% of nominal design production rate capacity in two case studies where amount of dimethylphenyl cabinol generated in a reactor 1.5 and 2 times increase. The results showed that the operation at 125% of nominal design production rate capacity has high potential. The important limitation of the production rate is the amount of dimethylphenyl cabinol generated in the reactor. It must be less than 1.45 times of the amount generated in nominal design production rate. It affects a distillation and hence product specification.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45247
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.787
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.787
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattawit_po.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.