Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/453
Title: | การสังเคราะห์การปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันราชภัฏ |
Other Titles: | Synthesis of change in roles of Rajabhat Institutes |
Authors: | นิตยา พรหมวนิช, 2503- |
Advisors: | สุกัญญา โฆวิไลกูล บุหงา วัฒนะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สถาบันราชภัฏ--การบริหาร การศึกษาขั้นอุดมศึกษา--ไทย |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนทิศทางและพัฒนาการของสถาบันราชภัฏ และสังเคราะห์การปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันราชภัฏตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501-2546 ด้วยวิธีเชิงประวัติศาสตร์จากการศึกษาเอกสารและประวัติศาสตร์บอกเล่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทแบ่งออกเป็นปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และระบบการศึกษา และปัจจัยภายใน ได้แก่ โครงสร้างและการบริหาร ปรัชญาและพันธกิจ นโยบายและเป้าหมาย ศักยภาพของสถาบันด้านบุคลากร และงบประมาณ อุดมการณ์ของประชาคม และรูปแบบการทำงาน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายนอกหลักที่ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันราชภัฏ คือ นโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และปัจจัยภายในหลัก คือ นโยบายซึ่งกำหนดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โครงสร้างการบริหารจัดการที่ปรับเปลี่ยนเป็นการภายในและเป็นทางการ อุดมการณ์ของประชาคมที่มุ่งประโยชน์ต่อชนบทและท้องถิ่น ศักยภาพของสถาบันด้านบุคลากรและงบประมาณที่ได้รับการควบคุมภายใต้ระบบราชการ จากผลการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกส่งผลให้ปัจจัยภายในของสถาบันเปลี่ยนแปลง และสถาบันราชภัฏเกิดการปรับเปลี่ยนทิศทาง พัฒนาการ และบทบาทไปตามลำดับ คือ สถาบันราชภัฏมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากโรงเรียนฝึกหัดครู เป็นสถาบันอุดมศึกษาในรูปวิทยาลัย และเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่สมบูรณ์ขึ้นในรูปของสหวิทยาลัยและสถาบัน โดยมีการปรับทิศทางจากการมุ่งประโยชน์ต่อชนบทและท้องถิ่นไปสู่การมุ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีรูปแบบสมบูรณ์ขึ้น และมุ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งได้ปรับเพิ่มบทบาทจากภารกิจการผลิตครูเพียงภารกิจเดียวไปสู่ภารกิจหลักเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัย คือ การจัดการศึกษา การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริการทางวิชาการ รวมทั้งได้ผนวกภารกิจที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถาบัน คือ การส่งเสริมวิทยฐานะครู และการปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งในส่วนที่พบว่า มีการปรับเปลี่ยนชัดเจนคือ ภารกิจการจัดการศึกษาที่ปรับจากหลักสุตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาการศึกษาและขยายตัวเป็นหลักสูตรที่หลากหลายทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา |
Other Abstract: | The objectives of this research were to analyze the internal and external factors that affected changes in the Rajabhat Institutes - their directions and developments - and to synthesize their changing roles from 2501-2546 BE. Historical research was used as the tool for collecting data. Factors that led to the changing roles of Rajabhat Institutes were both external and internal. External factors under the study were political, economic, social, cultural, technological and educational, whereas internal factors consisted of institutional structure and management, philosophy, mission, policy and goals, personnel and budgeting, staff ideology and working pattern. Results of the research showed 1. The most influential external factors were governmental policies and National Social and Economic Development Plans. 2. The most influential internal factors were institutional policies, management system, staff ideology, personnel and budgeting. 3. Both external and internal factors led to changes in directions, developments and roles of Rajabhat Institutes |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/453 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.882 |
ISBN: | 9745312762 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.882 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nitaya.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.