Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45339
Title: ศักยภาพการใช้ประโยชน์จากมูลฝอยชุมชนของหอพักนิสิตชาย - หญิง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศและการเผาไหม้
Other Titles: Assessment of municipal solid waste utilization : anaerobic digestion and combustion at Chulalongkorn University dormitory
Authors: วิมลวรรณ หวังรุ่งทรัพย์
Advisors: พิชญ รัชฎาวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ขยะ
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
การหมัก
การเผาไหม้
น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
Refuse and refuse disposal
Recycling (Waste, etc.)
Fermentation
Combustion
Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและปริมาณของมูลฝอยจากหอพักนิสิตชาย-หญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับศักยภาพการผลิตพลังงานจากกระบวนการหมักแบบไร้อากาศและการเผาไหม้ รวมถึงการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่าความร้อนที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพและลักษณะทางเคมีของมูลฝอยโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น พบว่าองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยอาคารหอพักประกอบด้วยเศษอาหารร้อยละ 64.73 และ 60.89 พลาสติกร้อยละ 18.81 และ 18.27 กระดาษร้อยละ 6.73 และ 8.45 หนังและยางร้อยละ 0.46 และ 0.16 ผ้าร้อยละ 0.08 และ 0.05 แก้วร้อยละ 5.18 และ6.64 โลหะร้อยละ 0.83 และ 0.23 อื่นๆร้อยละ 3.18 และ5.31 อัตราการเกิดมูลฝอยเท่ากับ 502.86 และ 425.31 กิโลกรัมต่อวัน ในช่วงเปิดและปิดภาคเรียนตามลำดับ องค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยโรงอาหารประกอบด้วยเศษอาหารร้อยละ 100.00 ทั้งเปิดและปิดภาคเรียน อัตราการเกิดมูลฝอยเท่ากับ 141.61 และ 92.36 กิโลกรัมต่อวัน ในช่วงเปิดและปิดภาคเรียนตามลำดับ ศักยภาพการผลิตพลังงานของมูลฝอยอาคารหอพักนิสิตจากกระบวนการไหม้โดยค่าความร้อน LSCV มีค่า 1,467.23 และ 1,776.94 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมในช่วงเปิดและปิดภาคเรียนตามลำดับ ศักยภาพการผลิตพลังงานของมูลฝอยโรงอาหารหอพักนิสิตจากกระบวนการหมักแบบไร้อากาศมีค่าความร้อน LSCV 1,732 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมของแข็งระเหย แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่าความร้อนกับองค์ประกอบทางกายภาพคือ (1) LSCV (กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม) = 47.47PL(%) + 70.23PP(%) (Adjusted R2=0.97) แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่าความร้อนกับลักษณะทางเคมีคือ (2) LSCV (กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม) = 49.09C (%) (Adjusted R2=0.97) พบว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่าความร้อนกับลักษณะทางเคมีมีความแม่นยำมากกว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่าความร้อนกับองค์ประกอบทางกายภาพ เนื่องจากตัวแปรอิสระที่ได้จากองค์ประกอบทางกายภาพยังมีค่าความชื้นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในขณะที่ตัวแปรอิสระที่ได้จากลักษณะทางเคมีไม่มีค่าความชื้นเข้ามาเกี่ยวข้อง
Other Abstract: The objective of the resesearch is to study the composition and quantity of municipal solid waste (MSW) from Chulalongkorn University dormitory and relationship to the energy production potential by anaerobic digestion and combustion process. In addition, mathematical models of calorific values, using physical compositions and chemical characteristics, are developed by stepwise multiple linear regression method. The physical compositions by wet weight percent of MSW from dormitory were as follows: food waste 64.73% and 60.89% plastic 18.81% and 18.27% paper 6.73% and 8.45% leather&rubber 0.46% and 0.16% textile 0.08% and 0.05% glass 5.18% and 6.64% metal 0.83% and 0.23% and others 3.18% and 5.31%, for during and after semester, respectively. The MSW generation rate was 502.86 kg/day during semester period and 425.31 kg/day after semester period. The physical composition of MSW from dormitory’s cafeteria was 100.00% food waste for both during and after semester. The MSW generation rate for the cafeteria was 141.61 and 92.36 kg/day during and after semester, respectively. Energy production potential of MSW from dormitory by combustion process, as measured by lower solid calorific value (LSCV), was 1,467.23 and 1,776.94 kcal/kg during and after semester, respectively. Energy production potential of MSW from dormitory’s cafeteria by anaerobic digestion process, as measured by lower solid calorific value (LSCV), was 1,732 kcal/kgVS. The calorific model from compositional analysis was (1) LSCV (kcal/kg) =47.47PL(%) + 70.23PP(%) (Adjusted R2=0.97). The calorific model from proximate analysis was (2) LSCV (kcal/kg) =49.09C (%) (Adjusted R2=0.97). The model based on proximate analysis yielded a better prediction due to the input value that excluded moisture content. The moisture content may vary from time to time and was not directly accounted in the compositional model.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45339
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1341
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1341
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimolwan_wa.pdf8.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.