Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45375
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดำรงค์ วัฒนา | en_US |
dc.contributor.author | สิริวิท อิสโร | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:01:18Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:01:18Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45375 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการบริหารคุณภาพ พัฒนาการของบริหารคุณภาพในองค์การภาครัฐของไทย 2) ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารคุณภาพในองค์การภาครัฐของไทย ผ่านการขับเคลื่อนรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award: PMQA) และ 3) พัฒนาข้อเสนอในการยกระดับการบริหารคุณภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์การภาครัฐของไทย โดยกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะส่วนราชการในระดับกรม และได้ใช้ทั้งระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกส่วนราชการระดับกรม จำนวน 39 กรม การวิเคราะห์เอกสาร การศึกษาข้อมูลผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระหว่างปี พ.ศ.2548-2556 ร่วมกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติงานในองค์การภาครัฐจำนวน 654 ชุด จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติต่างๆ ผลการศึกษา ค้นพบว่า 1) การบริหารคุณภาพไม่ได้ช่วยยกระดับผลการปฏิบัติราชการของไทยให้สูงขึ้น แต่กลับพบว่าส่วนราชการไทยมีแนวโน้มผลการปฏิบัติราชการต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award: PMQA) ไม่ใช่ตัวแบบการบริหารคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับทุกๆ องค์การภาครัฐของไทย แต่เหมาะสมสำหรับองค์การบางประเภทเท่านั้น 3) การบริหารคุณภาพในองค์การภาครัฐของไทย ทำให้เกิดการพัฒนาที่แยกส่วน ส่วนราชการมีแนวคิดต่างคนต่างทำ และขาดการบูรณาการงานร่วมกัน ข้อเสนอแนะในการผลักดันให้การบริหารคุณภาพในองค์การภาครัฐของไทยประสบความสำเร็จ คือ การเปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถเลือกวางเส้นทาง และพัฒนาตัวแบบการบริหารคุณภาพที่สอดคล้องกับกลุ่มภารกิจ รวมถึงอัตลักษณ์ของแต่ละส่วนราชการเอง โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) จะต้องเพิ่มการสนับสนุนทรัพยากร และชี้นำอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อเสริมพลังให้ส่วนราชการสามารถขับเคลื่อนการบริหารคุณภาพในทิศทางที่เอื้อให้ภารกิจของรัฐประสบผลสัมฤทธิ์ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this thesis are 1) to study concepts and evolution of quality management in the Thai public sector 2) to study the effectiveness of quality management through the Thai public sector quality development model (Public Sector Management Quality Award: PMQA) 3) to develop a proposal to raise quality management that is suitable and in accordance to Thai public agencies by setting up research scope for in-depth interviews with thirtynine public agencies at the departmental level, analyze document, review the public organizations performance information between 2548-2556 B.E. in parallel with quantitative analysis methods by collecting 654 questionnaires from public officials. This research discovers that 1) quality management does not raise performance of Thai public organizations any higher; moreover, it turns out that the performance has been declined in statistically significant manner 2) public sector quality development model (Public Sector Management Quality Award: PMQA) is not always suitable for every public organization, but it is suitable for only some particular organizations 3) quality management in public organizations in Thailand creates fragmentation among each division because public organizations have a tendency to focus on their own tasks and therefore integration with other units in organization has been lacking. The recommendations are derived from the finding indicating that each organization needs to choose and develop their own quality management path and model. The Office of the Public Sector Development Commission (OPDC) has to provide more resources and guide each public agency more closely in order to empower these public organizations regarding quality management to confer to state mission, and achieve result in order to truly benefit Thai citizens. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การบริหารคุณภาพในองค์การภาครัฐของไทย : ศึกษากรณีรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ | en_US |
dc.title.alternative | QUALITY MANAGEMENT IN THAI PUBLIC AGENCIES : A CASE STUDY OF PUBLIC SECTOR MANAGEMENT QUALITY AWARD | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | รัฐศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected] | en_US |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5281511224.pdf | 32.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.