Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45713
Title: การออกแบบการส่องแสงสว่างสำหรับชานชาลาสถานีรถไฟฟ้ากรณีศึกษา สถานีรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สถานีลาดกระบัง
Other Titles: LIGHTING DESIGN APPROACHES FOR SKYTRAIN PLATFORMA CASE STUDY OF AIRPORT RAIL LINK, LADKRABANG STATION
Authors: ศุภสิทธิ์ กีรติถาวร
Advisors: พรรณชลัท สุริโยธิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: สถานีรถไฟ -- แสงสว่าง
สถานีรถไฟ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- ลาดกระบัง
แสงในสถาปัตยกรรม
Railroad terminals -- Lighting
Railroad terminals -- Thailand -- Bangkok -- Lat Krabang
Light in architecture
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบการส่องสว่างสำหรับชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าและวิเคราะห์อิทธิพลของความสม่ำเสมอของแสงที่มีผลต่อความรู้สึกปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ใช้งาน เริ่มจากการสัมภาษณ์ผู้ออกแบบ สำรวจสภาพจริงของสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และทำแบบสอบถามขั้นต้น โดยให้ดูภาพถ่ายจากสถานที่จริง 5 รูปแบบสถานี และสอบถามการรับรู้ถึงความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อ ความสว่าง ความสม่ำเสมอของแสง ความจ้าของแสง ความรู้สึกปลอดภัย และความพึงพอใจต่อภาพรวมของสถานี ผลคือ รูปแบบของแอร์พอร์ตลิ้งค์ สถานีลาดกระบัง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างน้อยที่สุด จึงได้เลือกรูปแบบสถานีดังกล่าวมาเป็นกรณีศึกษา แล้วทำการออกแบบรูปแบบแสงสว่างโดยการจำลองภาพเสมือนจริง แล้วกำหนดให้กรณีสถานการณ์ปกติมีระดับความส่องสว่างและความสม่ำเสมอของแสงที่พื้นตามมาตรฐานสากล แล้วเพิ่มการส่องสว่างโดยพิจารณาความสม่ำเสมอของแสงที่ผนังและฝ้าเพดาน ทั้งหมด 8 รูปแบบ จากนั้นทำแบบสอบถามการรับรู้ถึงความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง 190 คน ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการให้แสงสม่ำเสมอที่ผนังส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างรู้สึกปลอดภัยและพึงพอใจน้อยกว่ารูปแบบอื่น ส่วนการให้แสงสว่างที่ฝ้าเพดานเพียงอย่างเดียวหรือการให้แสงสว่างที่ผนังกับฝ้าเพดานพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นแสงสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ตาม ต่างส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างรู้สึกปลอดภัยและพึงพอใจมากกว่ารูปแบบการให้แสงสว่างที่ผนังเพียงอย่างเดียว โดยมีข้อสังเกตว่า รูปแบบการให้แสงสม่ำเสมอที่ผนังกับแสงไม่สม่ำเสมอที่ฝ้าเพดานมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ถึงความพึงพอใจในทุกคำถามน้อยกว่ารูปแบบการให้แสงที่ผนังกับฝ้าเพดานพร้อมกันในกรณีอื่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเปรียบต่างที่เกิดจากผนังที่สว่างมากกว่าฝ้าเพดาน ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างรู้สึกปลอดภัยและพึงพอใจน้อยลง ดังนั้นในการออกแบบแสงสว่างสำหรับสถานีรถไฟฟ้าที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับกรณีศึกษา จึงควรพิจารณาความสม่ำเสมอของแสงประกอบด้วย
Other Abstract: This research aimed to study the effect of lighting uniformity on the wall and ceiling surfaces in the sky train station on passengers’ satisfaction. The empirical research was used by interviewing and surveying the existing metro train stations in Bangkok. The semantic differential scale was used to measure the passengers’ satisfaction from five actual photos of the selected platforms. The five senses of perception; brightness, uniformity, glare, safety and satisfaction were asked. The result showed that Airport rail link, Ladkrabang station had the lowest values of satisfaction. This station was then selected to be the case study. The illuminance and uniformity on the floor of the platform was set to the commended values and this lighting pattern on the floor was defined as the base case. Then, eight more different lighting design patterns were proposed employing computer simulation. A sample of 190 people was asked to investigate their satisfaction via questionnaires. The result analyzed by using statistical method showed that wall lighting uniformity affected on the sense of safety and satisfaction less than other patterns. Ceiling lighting alone or wall and ceiling lighting together affected on the senses of safety and satisfaction more than wall lighting even it was uniform or non-uniform. However, uniform wall lighting and non-uniform ceiling lighting together had lower values of satisfaction than other wall and ceiling lighting patterns. This was because brightness contrast occurred by wall that brighter than ceiling. It decreased the sense of safety and satisfaction. In conclusion, this result can be applied on lighting design approaches of similar platform or architectural space. Moreover, the uniformity of lighting surfaces particularly walls and ceilings should be considered.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45713
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1068
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1068
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673558925.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.