Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45925
Title: | การวางแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในไมโครกริดที่มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พลังงานความร้อนร่วม และระบบกักเก็บพลังงาน |
Other Titles: | GENERATION UNIT COMMITMENT IN MICROGRID WITH RENEWABLE ENERGY GENERATION COMBINED HEAT AND POWERAND ENERGY STORAGE SYSTEM |
Authors: | ชานนท์ ธรรมศร |
Advisors: | กุลยศ อุดมวงศ์เสรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ จีเนติกอัลกอริทึม แหล่งพลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วม การผลิตพลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่ Smart power grids Genetic algorithms Renewable energy sources Wind power Solar energy Electric generators Cogeneration of electric power and heat Electric power production Electric batteries |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญในอนาคต ดังนั้นการผสมผสานการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอย่างเหมาะสมจึงควรได้รับการพิจารณาและแนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ การพัฒนาระบบไฟฟ้าให้เกิดเป็นการเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กกับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ไม่ไกลจากกันที่เรียกว่า ระบบไมโครกริด (Micro Grid) โดยมีทั้งความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าและความต้องการใช้พลังงานความร้อน นอกจากนี้ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าไปในไมโครกริดจำเป็นต้องติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าพร้อมทั้งทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลขนาดเล็กเพื่อช่วยลดความไม่แน่นอนและความผันผวนของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้กระบวนการแก้ปัญหาค่าขีดสุด (Optimization) ด้วยขั้นตอนวิธีทางพันธุกรรม (Genetic Algorithm) เป็นเครื่องมือหลักเพื่อค้นหาคำตอบที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในไมโครกริดที่มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พลังงานความร้อนร่วมและระบบกักเก็บพลังงาน โดยสามารถรองรับความต้องการทางไฟฟ้าและความร้อนได้อย่างเพียงพอ มีค่าใช้จ่ายต่ำสุดและพยายามให้ไมโครกริดประพฤติตนเสมือนเป็นแหล่งกำเนิดหรือแหล่งความต้องการทางไฟฟ้าขนาดคงที่ค่าหนึ่ง (Virtual Power Plant) ณ ช่วงขณะเวลาที่มีข้อตกลงต่อกันล่วงหน้าได้ ซึ่งได้ทดสอบกับระบบทดสอบท่าทรายที่มีขนาด 34 บัส มีสายป้อน 34 เส้น มีจุดโหลด 18 จุด โดยได้ดัดแปลงระบบดังกล่าวให้เป็นไมโครกริดโดยทำการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและความร้อนร่วม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล และแบตเตอรี่ เข้าไปในระบบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า สามารถนำวิธีการที่นำเสนอมาช่วยวางแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในระบบไมโครกริดได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Other Abstract: | Power generation from renewable energy is an important alternative in the future. Therefore, the combination of Power generation from fossil fuels and renewable energy should be considered accordingly. One possible approach is to develop a small interconnected system called Micro-grid. Demand in micro-grids may contain both electricity as well as heat. In addition, energy storage system is typically needed to be installed along with conventional fossil fuel generators to reduce the uncertainty and variability of the renewable energy power generation. This thesis uses the genetic algorithm as the main tool for optimal generation planning. The proposed method is a generation unit commitment method in micro-grid with renewable energy generators, combined heat and power generators, and Energy Storage System to supply both electricity and heat demands at the lowest cost. At the same time, it tries to control the micro-grid as a virtual power plant that has constant power flowing-in or -out at the time of agreement in advance. This method has been tested with TahSai system, which has 34 buses, 34 feeders, and 18 load points. This system is modified by installing a PV generator, a wind generator, combined heat and power generators, diesel generator, and batteries. It can be seen that the proposed method can be used efficiently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45925 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.665 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.665 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5470171921.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.