Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45975
Title: | ผลของการใช้กระบวนการพยาบาลที่เน้นการนวดท้องต่ออาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง |
Other Titles: | THE EFFECT OF USING NURSING PROCESS EMPHASIZING ABDOMINAL MASSAGE ON CONSTIPATION IN STROKE PATIENTS |
Authors: | วันวิสาข์ ปัทมาวิไล |
Advisors: | จิราพร เกศพิชญวัฒนา ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง -- การพยาบาล ท้องผูก -- การพยาบาล ท้อง -- การนวด Cerebrovascular disease -- Patients Cerebrovascular disease -- Nursing Constipation -- Nursing Stomach -- Massage |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยแบบเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังได้รับกระบวนการพยาบาลที่เน้นการนวดท้องและเพื่อเปรียบเทียบอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มที่ได้รับกระบวนการพยาบาลที่เน้นการนวดท้องกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ โดยใช้หลักการทางสรีรวิทยาและการพยาบาลผู้ป่วยตามข้อวินิจฉัยการพยาบาลอาการท้องผูกที่เน้นการนวดท้องตามวิธีของ Sinclair (2011) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วย อายุ 18-59 ปี จำนวน 50 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกและมีอาการท้องผูก โดยประเมินจากแบบประเมินอาการท้องผูก (Constipation Scoring System (CSS)) ของ Agachan และคณะ (1996) ได้คะแนน > 15 คะแนน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ ตำแหน่งการเกิดพยาธิสภาพในสมองและยาที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มทดลองได้รับกระบวนการพยาบาลที่เน้นการนวดท้อง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินอาการท้องผูกของ Agachan และคณะ (1996) ซึ่งผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาและหาความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบที (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการท้องผูกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองลดลงหลังได้รับกระบวนการพยาบาลที่เน้นการนวดท้อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการท้องผูกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มที่ได้รับกระบวนการพยาบาลที่เน้นการนวดท้องน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this quasi-experimental research were to compare constipation in stroke patients before and after receiving nursing process with abdominal massage and to compare constipation in stroke patients after receiving nursing process with abdominal massage with those who received routine nursing care. The pathophysiology of constipation and nursing care for constipation diagnosis with abdominal massage of Sinclair (2011) were used as the conceptual framework. The subjects consisted of 50 first- stroke diagnosed patients (age 18-59 years) suffering from constipation (constipation assessment score >15) by using the Constipation Scoring System (CSS) (Agachan et al., 1996) evaluation form which divided the subjects into two groups of 25, one being the control group and the other the experimental group. Age, location of the brain lesion and the type of medication for stroke treatment were matched. The control group received routine nursing care and the experimental group received the nursing process with abdominal massage for 2 weeks. Constipation assessment by using the Constipation Scoring System (Agachan et al.,1996) evaluation form which was tested for content validity and reliability. Cronbach’s alpha coefficients of the CSS were .74. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test statistics. Major findings were as follows: 1. The mean score of constipation in stroke patients after receiving the nursing process with abdominal massage was significantly lower than before receiving the nursing process with abdominal massage at a 0.5 level. 2. The mean score of constipation in stroke patients after receiving the nursing process with abdominal massage was significantly lower than before receiving the routine nursing care at a 0.5 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45975 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.693 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.693 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477228336.pdf | 5.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.