Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45996
Title: การจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรีในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
Other Titles: OPEN ACCESS JOURNAL MANAGEMENT IN UNIVERSITY LIBRARIES
Authors: ลมัย ประคอนสี
Advisors: พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
Academic libraries
Information resources management
Open access publishing
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านนโยบาย การจัดหา การทำรายการ และการบริการ รวมถึงปัญหาในการจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการ/หัวหน้าห้องสมุดหรือผู้รับผิดชอบในการจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรีในห้องสมุดมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 107 แห่ง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 79 ชุด (73.83) ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด มีการกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการกำหนดนโยบายด้านการจัดหา ใช้เกณฑ์เนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ใช้มาตรฐานการลงรายการ มาร์ก (MARC) ใช่วิธีการให้บริการผ่านรายการออนไลน์ สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี พบว่า ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบมี 2 ระดับ คือ ระดับมาก และระดับปานกลาง ปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไม่มีวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรีในสาขาวิชาที่ต้องการ
Other Abstract: The objective of this research was to study open access journal management in university libraries, in terms of, objectives, policy, acquisition, classification, service and problem of open access journal management in university libraries. This study was a survey research in which data was collected from questionnaires distributed to 107 university library directors or librarians responsible for open access journal management. There were 79 questionnaires returned (73.83%) The results from the study indicate that most university libraries have non-written policies. They make the selection by considering open access journal content relevant to the universities’ curriculum. Most libraries use MARC for cataloging and provide service via OPAC (Online Public Access Cataloging). The problem having the highest mean score is that there is no open access journal in the required field.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45996
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.711
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.711
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5480170922.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.