Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46012
Title: การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในมิติการเคารพความแตกต่างของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน
Other Titles: DEVELOPMENT OF SIXTH GRADE STUDENTS' GOOD CITIZENSHIP CHARACTERISTICS IN THE RESPECTING FOR DIFFERENCES DIMENSION BY USING PROJECT-BASED LEARNING
Authors: ศิริพร ไกรสมสาตร์
Advisors: ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: การสอนแบบโครงงาน
การเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์
Project method in teaching
Respect for persons
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านความเคารพความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อด้านความเคารพความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน3) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติที่มีต่อด้านความเคารพความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน แผนการจัดการเรียนรู้นอกเวลาเรียน 10 แผน และเครื่องมือ 3 ฉบับ แบบทดสอบความรู้ในมิติการเคารพความแตกต่าง แบบวัดทัศนคติในมิติการเคารพความแตกต่าง และแบบสอบถามการปฏิบัติตนในมิติการเคารพความแตกต่าง ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบมีค่าความยากง่ายตั้ง 0.30-0.77 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27-0.67และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปคือ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านการเคารพความแตกต่างของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติที่มีต่อด้านความเคารพความแตกต่างของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการเคารพความแตกต่างของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research study were to: 1) compare knowledge about respecting to the differences between before and after the course. 2) compare attitude about respecting to the differences between before and after the course. 3) compare practice about respecting to the differences between before and after the course. The quasi-Experimental Design was conducted in this study. The research instruments were ten classroom lesson plans, ten out-of-class lesson plans, test of knowledge about respecting to the differences, test of attitude about respecting to the differences, and test of practice about respecting to the differences. The data were analyzed for differences and mean by t-test. The results were as follows 1. The posttest mean for knowledge about respecting to the differences of the study were higher the pretest at the significance level of 0.5 2. The posttest mean for attitude about respecting to the differences of the study were higher the pretest at the significance level of 0.5 3. The posttest mean for practice about respecting to the differences of the study were higher the pretest at the significance level of 0.5
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46012
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.721
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.721
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483439327.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.