Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริกัญญา โฆวิไลกูลen_US
dc.contributor.authorธนพล หาญนรเศรษฐ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:33Z
dc.date.available2015-09-18T04:21:33Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46025
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางในประเทศไทยและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1540 พร้อมทั้งเสนอแนวทางการปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายในประเทศไทย เพื่อให้สามารถควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ และจะต้องไม่เป็นอุปสรรคเกินควรแก่ภาคเอกชน จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าที่ใช้ได้สองทางในปริมาณค่อนข้างสูง แต่ยังไม่มีมาตรการในการควบคุมสินค้าประเภทดังกล่าวโดยตรง โดยมีสินค้าที่ใช้ได้สองทางเพียงบางรายการเท่านั้นที่อยู่ในความควบคุม และยังกระจัดกระจายอยู่ในพระราชบัญญัติต่าง ๆ หลายฉบับ ทำให้ประเทศไทยอาจถูกใช้เป็นศูนย์กลางในการส่งผ่านสินค้าที่ใช้ได้สองทางเพื่อสนับสนุนและใช้ในการก่อการร้าย และอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศอื่น ๆ ในการตัดสินใจนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางภายใต้กฎหมายของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันสามารถทำได้ในขอบเขตที่จำกัด เพราะพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระเบียบการส่งออกและการนำเข้าสินค้าเท่านั้น ประเทศไทยจึงยังไม่มีกฎหมายควบคุมการส่งผ่าน การถ่ายลำ การนำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป และการให้บริการนายหน้าของสินค้าที่ใช้ได้สองทาง นอกจากนี้ การกำหนดมาตรการใด ๆ เพื่อควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางย่อมส่งผลกระทบต่อภาคเอกชนทั้งทางด้านการค้าและการลงทุน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอแนะมาตรการในระยะสั้นให้กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สินค้าที่ใช้ได้สองทางเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตก่อนส่งออกสินค้าดังกล่าว และกำหนดมาตรการระยะยาวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อสร้างระบบควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงทั้งหมด ซึ่งรวมถึงสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ทั้งนี้ มาตรการควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางดังกล่าวควรดำเนินการควบคู่ไปกับโครงการผู้ประกอบการมาตรฐานเออีโอของกรมศุลกากร เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภาคเอกชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis intends to study legal measures that have been adopted to control dual-use goods in Thailand and any related issues in order to be in compliance with United Nations Security Council Resolution 1540 (2004) and to propose rectifications to Thai laws for a more effective and systematic control of the dual-use goods to be consistent with international standards and commitments, but it shall not unduly impede the private sector. The study indicates that a large number of exports of dual-use goods happen in Thailand today, but no direct legal measures have been implemented. Only some dual-use goods are listed under control, and they are disseminated in numerous Acts. Thailand would be regarded as a center to transport dual-use goods for terrorist support purposes, which may in turn impact on the confidence for other countries to import goods from Thailand. However, the current legal measures in controlling dual-use goods in Thailand are rather limited as the Export and Import Goods Act (1979) constitutes only the export and import of goods. Thailand thus does not have any measures to control transit, transshipment, or re-export as well as acting as brokerage service of dual-use goods. Further, the implementation of any legal measures would have some impact on private sector in both trade and investment. This study thus recommends that the short-term legal measures are proposed to the Ministry of Commerce under the Export and Import Goods Act (1979) to determine the specific dual-use goods that require permission prior to the export of such goods, and the long-term legal measures are proposed to the relevant government agencies to enact the specific law that establish the system relating to the control of all Weapon of Mass Destruction (WMD) including dual-use goods. However, the legal measures to control the dual-use goods shall be implemented simultaneously with the Authorized Economic Operator (AEO) standards, which may reduce the impact on private sector.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.782-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522
dc.subjectการควบคุมสินค้าขาเข้า -- ไทย
dc.subjectการควบคุมสินค้าขาออก -- ไทย
dc.subjectExport and Import of Goods Act, B.E. 2522 (1979)
dc.subjectImport quotas -- Thailand
dc.subjectExport controls -- Thailand
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทางen_US
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES ON DUAL-USE GOODS CONTROLen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.782-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485983734.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.