Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46155
Title: แนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเจเนอเรชั่นแอลฟาให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในอนาคต
Other Titles: APROPRIATE EDUCATIONAL PROVISION GUIDELINES FOR GENERATION ALPHA IN THAI SOCIAL CONTEXT IN THE FUTURE
Authors: พัชราภา ตันติชูเวช
Advisors: จรูญศรี มาดิลกโกวิท
สุริยเดว ทรีปาตี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: การพัฒนาเยาวชน -- ไทย
การศึกษา -- ไทย -- แง่สังคม
นโยบายการศึกษา -- ไทย
กฎหมายการศึกษา -- ไทย
การบริหารการศึกษา -- ไทย
Education -- Thailand -- Social aspects
Youth development -- Thailand
Education and state -- Thailand
Educational law and legislation -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจเนอเรชั่นแอลฟาที่เหมาะสมกับสังคมไทยในอนาคต 2) วิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของสังคมไทยในปัจจุบันกับการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับสังคมไทยในอนาคตสำหรับเจเนอเรชั่นแอลฟา 3) นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเจเนอเรชั่นแอลฟาให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในอนาคต โดยใช้ทฤษฎีระบบนิเวศวิทยาของบรอนเฟนเบรนเนอร์ เป็นกรอบแนวคิดของงานวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คือ การศึกษาเอกสาร การประชุมสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจเนอเรชั่นแอลฟาด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค ด้านความรู้และทักษะ เช่น ทักษะชีวิต การสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม ด้านเจตคติและค่านิยม เช่น การมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ด้านการแสดงออกต่อสังคม เช่น ความสามารถในการดูแลตนเอง ครอบครัว และสังคม (โดยเฉพาะสังคมผู้สูงอายุ) เป็นต้น สภาพการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน แบ่งผลการศึกษาออกเป็น 6 ด้านคือ 1) ด้านวัตถุประสงค์ของการศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทโรงเรียน 2) ด้านหลักสูตร เปลี่ยนแปลงบ่อย ขาดเอกภาพ เน้นการท่องจำ เน้นความรู้ทางวิชาการ 3) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาและมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทของโรงเรียน 4) ด้านครู ครูมีภาระงานมาก และการขาดจรรยาบรรณของครู 5) การวัดและประเมินผล มีสองรูปแบบคือ ประเมินตามสภาพจริงผ่านการสังเกตพฤติกรรม และการประเมินทางวิชาการเพื่อเลื่อนชั้น ผ่านการสอบ 6) สิ่งแวดล้อมในสังคมที่มีผลต่อการจัดการศึกษา เช่น ทัศนคติของผู้ปกครอง และครู การรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ สถาบันกวดวิชา การขาดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างครูและผู้ปกครอง การมีส่วนร่วมกับการจัดการศึกษากับโรงเรียน มีความแตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน การจัดการศึกษากับการพัฒนาเจเนอเรชั่นแอลฟาตามความต้องการ พบว่าคำตอบมีความแตกต่างกันตามประเภทของโรงเรียน แนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเจเนอเรชั่นแอลฟาให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในอนาคตแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ 1) การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น หลักสูตรมีความทันสมัย เน้นการสอนด้วยการลงมือปฏิบัติ มีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น 2) การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่น หลักสูตรมีความหลากหลาย เน้นทักษะวิชาชีพเพื่อใช้ในการทำงาน 3) การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การมีส่วนร่วมและมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และชุมชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเจเนอเรชั่นแอลฟา เน้นการส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่ต้องการจัดการศึกษาด้วยตนเอง ทั้งนี้บริบทของสังคมไทยทั้งระบบนิเวศวิทยาต้องมีความเข้มแข็งและมั่นคง
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) study desirable characteristics of the generation alpha appropriate for the Thai society in the future, 2) analyze education administration of Thailand at present and that for the generation alpha in the future, 3) suggest appropriate educational provision guidelines for the generation alpha in Thai social context in the future. The Bronfenbrenner's ecological theory of human development was applied as a conceptual framework for this research. Both quantitative and qualitative methods were used to collect the data: document analysis, focus group discussion, interviews, and survey research. The results of this research were as follows: Desirable characteristics of the generation alpha can be divided into 4 aspects. 1) Body and mind, e.g., adversity quotient. 2) Knowledge and skills, e.g., life skills, non-violence communication. 3) Attitude, e.g., morality, moral courage and ethics. 4) Expression to society, e.g, ability to take care of themselves, family and society (especially, aging society). With regard to the education provision of Thailand at present, it was found that 1) The objectives of education varied depending on the type of school. 2) The curriculum had high frequencies of changes, lacked unity and focused on memorization and academic knowledge and skills. 3) Format of teaching was consistent with the objectives of education and varied depending on the type of school. 4) Teachers had too many tasks and responsibilities and failed to observe codes of ethics of the teaching profession. 5) Measurement and evaluation were of 2 types: authentic assessment by observing behavior and performance assessment by testing. 6) Environment, e.g., attitude of parent and teacher, corrupt practices and tutorial schools affected learning outcomes. Problem of Thai education included lack of interaction between parent and teacher. The participation with school varied depending on the type of school. Education provision with developing generation alpha differed depending on the type of school. Three types of educational provision guidelines are proposed for the generation alpha in Thai social context in the future. 1) Formal education, e.g, up-to-date curriculum, learning by doing, various forms of assessments. 2) Non-formal education, e.g., various curricula, with emphasis on professional skills. 3) Informal education, e.g., interaction and participation between family, religious, school and community to develop the generation alpha and, promote home schools in order that Thai social contex; microsystem, mesosystem, exosystem and microsystem must to strength.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46155
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.4
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.4
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584250227.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.