Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4618
Title: | การกลายพันธุ์ Arthrobacter sp. สายพันธุ์ AG-2 เพื่อเพิ่มการสร้างเดกซ์แทรนเนส |
Other Titles: | Mutation of Arthrobacter sp. strain AG-2 for enhancing dextranase production |
Authors: | สุหัทยา จิระนันทิพร |
Advisors: | สุเทพ ธนียวัน สุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | รังสีเหนือม่วง เดกซแทรนเนส การกลายพันธุ์ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แบคทีเรียสายพันธุ์ AG-2 ที่คัดแยกได้จากดิน จ.นนทบุรี มีความสามารถในการผลิตเดกซ์แทรนเนสได้ และให้แอคติวิตีเท่ากับ 2.446 หน่วยต่อมิลลิลิตร เมื่อทำการจัดจำแนกเชื้อด้วยการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางชีวเคมี ประกอบกับการทำ 16 เอสไรโบโซมัลดีเอ็นเอ พบว่าเชื้อแบคทีเรีย AG-2 นี้จัดอยู่ในกลุ่มของ Arthrobacter sp. หลังทำการกลายพันธุ์ด้วยแสงอัลตราไวโอเลตจำนวน 3 รอบ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์กลาย CU15 ซึ่งให้แอคติวิตีเท่ากับ 3.201 หน่วยต่อมิลลิลิตร จากนั้นทำการกลายพันธุ์ต่อด้วย NTG (N-methyl-N'-nitro-N-nitrosoguanidine) ที่ความเข้มข้น 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 5-60 นาทีที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นจำนวน 4 รอบ ได้สายพันธุ์กลาง CUN4-10 ซึ่งให้แอคติวิตีของเอกซ์แทรนเนสเท่ากับ 4.530 หน่วยต่อมิลลิลิตร แต่เชื้อนี้มีความเสถียรที่ไม่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ CUN26 ที่ได้จากการกลายพันธุ์ด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลต 3 รอบและสาร NTG1 รอบ พบว่าเชื้อมีความเสถียรที่ดีคือ ความสามารถในการผลิตเดกซ์แทรนเนสไม่ลดลงหลังการถ่ายเชื้อครบ 30 ครั้ง เมื่อทำการปรับปรุงสูตรอาหารและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเดกซ์แทรนเนส โดยสายพันธุ์ CUN26 สามารถทำให้การผลิตเดกซ์แทรนเนสเพิ่มขึ้นได้ 2.50 เท่า โดยจะมีแอคติวิตีเท่ากับ 6.276 หน่วยต่อมิลลิลิตร และเมื่อทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ พบว่า ที่ 0.05 โมลาร์ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 6.5 อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เอนไซม์จะทำงานได้ดีที่สุด โดยเอนไซม์จะมีความเสถียรต่อความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วงกว้างคือ 5.0-9.0 เสถียรต่ออุณหภูมิได้ถึง 45 องศาเซลเซียส และมีค่า Km เท่ากับ 2.796 ไมโครโมลาร์ |
Other Abstract: | The bacterium AG-2 originally isolated from soil sample in Nontaburi province was capable of producing dextranase at 2.446 units/ml. The strain was classified by morphological and biochemical characteristics including 16S rRNA gene sequencing as Arthrobacter sp. After 3 rounds of UV exposure for 80-120 sec, a mutant strain designated CU15 was isolated that capable of producing dextranase at 3.201 unit/ml. Further treatment of cell suspension thereof with 50 mug/ml of NTG (N-methyl-N'-nitro-N-nitrosoguanidine) for 5-60 min at 37 ํC, yielded in a number of mutants with high dextranase activities after four rounds of treatment. The highest producing strain, CUN4-10, gave the dextranase avtivity of 4.530 units/ml. However, this organism failed to showed its stability toward dextranase production meanwhile strain CUN26, obtained 3 rounds of UV exposure and 1 round of NTG treatment respectively, was quite stable by giving approximately the same dextranase activity after 30 rounds of subculture. Under the optimalconditions for dextranase production, strain CUN26 was able to produce 6.276 units of dextranase per ml, or a 2.50-fold increase after appropiate mutation and medium optimization. Optimal conditions for dextranase activity were at 50 ํC, pH 6.5 in 0.05 M phosphate buffer. The enzyme produced exhibit stability to pH from 5.0 to 9.0 and to temperature up to 45 ํC. The enzyme had an apparent Km value for dextran T-2000 of 2.796 muM. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4618 |
ISBN: | 9741307454 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suhuttaya.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.