Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46220
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุวดี ศิริ | en_US |
dc.contributor.author | พุธทวัน หนูราช | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:23:14Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:23:14Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46220 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | บทบาทของที่อยู่อาศัยนั้นมีความสำคัญกับมนุษย์ทุกคนซึ่งล้วนมีที่อยู่อาศัยแตกต่างกันตามเหตุผลและปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับช่วงชีวิตหรือศักยภาพในขณะนั้น โดยวัฒนธรรมและความเป็นอยู่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดการย้ายที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันเพราะวัฏจักรของการใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน เช่น ในสังคมตะวันตกนั้นมีการย้ายที่อยู่อาศัยตามลักษณะการใช้สอยพื้นที่ เช่น เมื่อแต่งงานหรือมีบุตรก็ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มขึ้นจึงย้ายจากอพาร์ทเม้นท์ไปอยู่ในบ้านเดี่ยวหรือในอพาร์ทเม้นท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ในสังคมไทยนั้นความจำเป็นเรื่องพื้นที่ใช้สอยมีหลากหลายลักษณะ ทั้งต่อเติม - ปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยเดิมโดยไม่มีการย้ายออก หรือเช่าพักอาศัยโดยไม่ต้องการครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง จากการใช้สอยพื้นที่ของสังคมที่แตกต่างกันข้างต้นดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาลักษณะการอยู่อาศัยในพื้นที่ขนาดเล็ก ที่อาจจะมีแนวโน้มในการย้ายที่อยู่อาศัยที่สัมพันธ์กับลักษณะการดำเนินชีวิตว่าจะเกิดการวางแผนการย้ายหรือไม่ เมื่อไหร่และอย่างไร โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้จะศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ และเหตุผลกับปัจจัยที่ทำให้ต้องย้ายหรือไม่ย้ายที่อยู่อาศัยรวมถึงความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในข้อมูลทางการตลาดเพื่อวางแผนจัดเตรียมและรองรับที่อยู่อาศัยสำหรับคนกลุ่มนี้ จากการศึกษาเรื่อง การอยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยในห้องชุดขนาดเล็ก : กรณีศึกษาลุมพินีเพลส พระราม9 - รัชดา พบว่าคนที่อยู่อาศัยในอาคารชุดนี้ส่วนใหญ่ไม่ประสงค์จะย้ายที่อยู่อาศัย มีจำนวนร้อยละ 80.12 แม้ว่าจะมีพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็ก ซึ่งพบว่าเหตุผลหลักเป็นเพราะคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยอื่นอยู่แล้วร้อยละ 78.19 และอยู่อาศัยในโครงการเฉพาะวันจันทร์ - ศุกร์ เป็นร้อยละ 42.10 โดยเลือกอยู่ที่โครงการนี้เพราะมีการคมนาคมสะดวก และสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดี เช่น มีห้างสรรพสินค้าสามารถจับจ่ายใช้สอยได้ง่าย มีจุดขึ้นลงทางด่วนสามารถเข้าออกนอกเมืองได้ไม่ยาก ห้องชุดนี้จึงเป็นเหมือนจุดพักรถที่จะไม่ต้องขับรถจากบ้านมาไกลเพื่อมาทำงานในเมือง โดยห้องชุดขนาดเล็กนี้มีผู้พักอาศัยที่อยู่กันเป็นครอบครัวคือคู่สมรสและคู่สมรสและบุตรเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าห้องชุดขนาด 33 - 38 ตารางเมตรนั้นเพียงพอแล้วสำหรับการอยู่อาศัยเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่ต้องอาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยวหากเริ่มมีบุตร ส่วนกลุ่มที่คิดจะย้ายที่อยู่อาศัยมีเพียงร้อยละ 19.87 ซึ่งผลการศึกษาพบว่าคนกลุ่มนี้จะมีการวางแผนก่อนจะย้ายที่อยู่อาศัยประมาณ 1 - 2 ปีคิดเป็นร้อยละ 36.36 โดยจะเลือกรูปแบบที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันตามลักษณะความจำเป็น เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุดที่มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ทั้งนี้จะคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกันตามลักษณะข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม | en_US |
dc.description.abstractalternative | Accommodation is a basic necessity for humans but the type of accommodation varies according to age and financial potential. Culture and lifestyle can affect relocation differently according to the region. For example, in the West, a reason for relocation may result from a change in functional use; for instance, when someone gets married or when a couple has a child, they need more space so they move from an apartment to a detached house or a bigger apartment. In Thai society, however, if more space is needed, relocation or renting a housing unit without legal ownership may not be the preferred solution but rather extension or modification to the existing house may be made. As the functional use varies, the researcher aims to investigate whether those who relocate to a small residential unit have a plan to do so – when and how – or not. The relocation is related to lifestyle. The objectives of this study were to examine the dwellers’ lifestyles, factors affecting their relocation and the future need for accommodation. The findings will be useful for marketing strategies to launch suitable accommodation for this group of people. It was found that 80.12% of those who live in Lumpini Place Rama 9 – Ratchada do not want to relocate even though their functional area is small. The main reasons are that 78.19% of them have another accommodation and 42.10% of them live there only from Monday to Friday. They chose this place because it is convenient for commuting and it is located in a good environment. It is close to a supermarket and close to the express way making it ideal for commuting. This place is like a parking lot for them so they do not to drive a long way to get to work in the city. A 33-38 -sq.m. unit can accommodate a small family – a couple with or without children that in the past may have lived in a detached house. Only 19.87 % of them would like to relocate and 36.36% of them plan to relocate within 1 – 2 years because they require more space. They generally plan to relocate to a detached house, a townhouse or a bigger condominium depending on economic and social factors. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1099 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ลุมพินีเพลส พระราม9 - รัชดา | |
dc.subject | อาคารชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- ห้วยขวาง | |
dc.subject | การย้ายที่อยู่อาศัย | |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | |
dc.subject | Lumpini Place Rama IX-Ratchada | |
dc.subject | Condominiums -- Thailand -- Bangkok -- Huai Khwang | |
dc.subject | Relocation (Housing) | |
dc.subject | Consumer behavior | |
dc.title | การอยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยในห้องชุดขนาดเล็ก : กรณีศึกษา ลุมพินีเพลส พระราม9 - รัชดา | en_US |
dc.title.alternative | Behaviour among Small Residential Unit Dwellers: A Case Study of Lumpini Place Rama 9 – Ratchada. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1099 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5673337525.pdf | 5.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.