Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46309
Title: พัฒนาการของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก "เจ้าขุนทอง"
Other Titles: Development of "Chao Khun Tong" Children Television Program
Authors: เทอด พิธิยานุวัฒน์
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
ปอรรัชม์ ยอดเณร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: เจ้าขุนทอง
รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
หุ่น
พัฒนาการของเด็ก
การเรียนรู้ทางสังคม
Chao Khun Tong
Television programs for children
Puppets
Child development
Social learning
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อสร้างองค์ความรู้จากรายการ โทรทัศน์สำหรับเด็ก "เจ้าขุนทอง" ซึ่งเป็นรายการที่ยืนยาวกว่า 20 ปี ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยมีบริษัท ผองผล จำกัด รับผิดชอบในการผลิตรายการ สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษาพัฒนาการ แก่นสาระ การออกแบบหุ่นและการนำเสนอรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก "เจ้าขุนทอง" โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมและการพัฒนาการของเด็ก แนวคิดที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กไทย แนวคิดเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก และแนวคิดเกี่ยวกับหุ่น เป็นกรอบในการวิจัย โดยใช้วิธีการ 1) ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าของนักสร้างสรรค์และผู้บริหารรายการ ทีมงาน และฝ่ายวิชาการ 2) การวิเคราะห์เนื้อหา แก่นสาระ และวิธีนำเสนอ และ 3) การสนทนากลุ่มผู้รับสาร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย เทปรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก "เจ้าขุนทอง" ระหว่างปีพ.ศ. 2534 - 2557 จำนวน 92 เทป และผู้รับสารคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์รายการโทรทัศน์เจ้าขุนทอง และแนวทางดำเนินการสนทนากลุ่มเป้าหมายเฉพาะรวมทั้งแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่าสามารถจำแนกตามพัฒนาการของรูปแบบรายการได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคบุกเบิกจุดประกาย (พ.ศ. 2534 - 2539) ยุคขยายความคิดสู่ความยั่งยืน (พ.ศ.2540 - 2551) และยุคดำรงสืบสานรายการ (พ.ศ.2552 - 2557) โดยมีลักษณะสำคัญคือ (1) ในแต่ละยุคมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น การวางพื้นฐานการสอนโดยใช้ลักษณะนิสัยของหุ่นในการสอนในยุคที่ 1 ความหลากหลายของรูปแบบรายการในยุคที่ 2 และเทคนิคการนำเสนอรายการในยุคที่ 3 (2) รายการเจ้าขุนทองเป็นรายการสาระบันเทิงเพื่อสอนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กและเยาวชนอายุ 3 - 12 ปี โดยอาศัยหุ่นมือ (3) ผู้ผลิตรายการเจ้าขุนทองได้สร้างสรรค์หุ่นไทยตามวิถีและวัฒนธรรมไทย ได้แก่ เจ้าขุนทอง(นกขุนทอง) ลุงมะตูม(เต่า) ฉงน(ควาย) ขอนลอย(จระเข้) เป็นต้น (4) บุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์โดยไม่แปรเปลี่ยนตามยุคสมัย ได้แก่ เจ้าขุนทองในการพูดคุยเปิดรายการ ลุงมะตูมในการสอนภาษาไทย ฉงนในการถามและช่วยอธิบายความหมายของคำ และขอนลอยในการสร้างเสียงหัวเราะและสร้างสีสันให้กับรายการ (5) เทคนิคการนำเสนอรายการเจ้าขุนทองผันแปรตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย เช่น การใช้เทคนิค Chroma Key ในยุคที่ 3 แทนการถ่ายทำฉากจริงของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในยุคที่1 และ 2 (6) จากการวิเคราะห์แก่นสาระ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอ รายการเจ้าขุนทองเป็นรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่มีคุณภาพ และจากการศึกษาผู้รับสารพบว่าเป็นรายการที่มีประสิทธิผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
Other Abstract: The general purpose of this research was to generate body of knowledge from children’s Chao Khun Tong television program. The Chao Khun Tong program with last long more than 20 years is produced by Phong Phon Company, Ltd. and broadcasted by BBTV channel 7. Specifically, this research was to study the overall development of Chao Khun Tong program and also to study the program profile, puppet design and forms of presentation using social learning theory, child development theory, desirable characteristics of Thai children, children’s television program and puppetry as a framework for this research. The research methods were: 1) The oral history method by interviewing the key informants: creative producers, program managers, and content specialists, 2) The content analysis of the program profile, puppet design and forms of presentation, and 3) The focus group discussion with receivers. Samples consisted of 92 tapes of children’s Chao Khun Tong television program during B.E. 2534 to 2557, and 18 primary school students in grade 5-6 of Chulalongkorn University Demonstation School. Data were collected by content analysis schedule and focus group guide with survey questionnaire. Research findings showed that the development of the children’s Chao Khun Tong television program could be classified into 3 eras as follows: The Beginnings of Chao Khun Tong Era (B.E. 2534-2539), The Expanding towards Sustainability Era (B.E. 2540-2551) and The Maintaining and Continuity Era (B.E. 2552-2557. The important features of each era are as the followings: (1) Having different strengths in each era i.e. using puppet character as a foundation for teaching in the first era; diversity of types of program in the second era and presentation techniques in the third era. (2) Chao Khun Tong television program, an edutainment, was designed to teach Thai, culture and morality & ethics to 3-12 years old children by means of hand puppets. (3) Producer of Chao Khun Tong puppets created and designed Thai hand puppets in the context of Thai way of living and culture i.e. Chao Khun Tong (bird), Uncle Matoom (turtle) Changon (buffalo) Khon Loy (crocodile). (4) Each hand puppet keeps its unique character overtime i.e. welcoming and opening session by Chao Khun Tong, Uncle Matoom teaches Thai, Changon asks questions and helps to explain the word meaning, and Khon Loy makes a joke and spectacular program. (5) Presentation techniques in Chao Khun Tong depended on the advancement of technology in each era i.e. using the chrome key technique in the third era instead of using the real stage production of BBTV channel 7 in the first and second era. (6) Based on the analysis of program profile, content and presentation technique, Chao Khun Tong is a quality television program for children. According to the receivers, Chao Khun Tong is an effective television program in enhancing children’s learning.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46309
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1168
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1168
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684860128.pdf11.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.