Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46407
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุทัย ตันละมัย | en_US |
dc.contributor.advisor | ศักดา ธนิตกุล | en_US |
dc.contributor.advisor | สุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล | en_US |
dc.contributor.author | ไวฑูรย์ โภคาชัยพัฒน์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-19T03:38:44Z | - |
dc.date.available | 2015-09-19T03:38:44Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46407 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการมีความร่วมมือและใช้ทรัพยากรร่วมกันของรัฐวิสาหกิจและเพื่อพัฒนาระบบที่จะใช้ในการกำกับดูแลต่อไป การเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัยพัฒนามีหลายขั้นตอนและจากหลายแหล่งได้แก่ 1) การสำรวจโดยแบบสอบถามกับผู้บริหารรัฐวิสาหกิจระดับสูงและระดับกลาง 52 แห่ง 2 รอบ 2) การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์ลึกกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญหลายครั้งเพื่อยืนยันความสำคัญและความยากง่ายของปัจจัยที่ระบุเพื่อนำไปพัฒนาออกแบบระบบที่สามารถใช้ได้จริง ได้แก่ ฝ่ายกฎหมายของรัฐวิสาหกิจและของกระทรวงการคลัง และผู้บริหารหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และผู้ทรงคุณวุฒิใน 8 สาขาวิชาด้านการจัดการและเทคโนโลยี 3) การสัมภาษณ์ลึกกับรัฐวิสาหกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบระบบที่ออกแบบเบื้องต้นและสอบถามการยอมรับระบบกำกับดูแลที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยสรุปปัจจัยสนับสนุนได้ 11 ปัจจัย ได้แก่ การมี “ความเข้าใจ/ประโยชน์ร่วมกัน/ข้อมูล/วัตถุประสงค์ชัดเจน/การติดตามประเมินผล/โอกาสพบปะระหว่างกัน/คนกลาง/ผู้ชี้แนะ/ผู้นำกลุ่ม/โครงการนำร่อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม” และปัจจัยที่เป็นอุปสรรค 14 ปัจจัย ได้แก่ การไม่มี “ความเข้าใจ/ประโยชน์ร่วมกัน/ข้อมูล/วัตถุประสงค์ชัดเจน/การติดตามประเมินผล/โอกาสพบปะระหว่างกัน/ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน/ความตั้งใจจริง/การสนับสนุนจากภาครัฐ/ทักษะในการบริหาร/นโยบายที่แน่นอน” กฎ ระเบียบต่างๆ การมีลักษณะเฉพาะ และการพึ่งอีกฝ่ายมากเกินไป โดยปัจจัยและระดับความสำคัญและระดับความยากง่ายของแต่ละปัจจัยประกอบกับความเห็นจากการสัมภาษณ์ได้นำมาจัดลำดับความสำคัญเป็นข้อกำหนด (System Requirements) และประเด็นพิจารณา (System Considerations) เพื่อการออกแบบระบบและฐานข้อมูลสำหรับระบบกำกับดูแลนี้ ระบบกำกับดูแลที่ออกแบบขึ้นมี สคร. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดนโยบาย เสนอแนะ ติดตามประเมินผล และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์แก่รัฐวิสาหกิจ สศช. เป็นหน่วยงานเสนอแนะแนวทาง คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เป็นผู้กำกับและมอบนโยบาย และรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ปฏิบัติ โดยมีผู้นำกลุ่มเป็นคนผลักดัน และมีฐานข้อมูลเป็นกลไกกลางของระบบที่สำคัญในการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมด และควบคุมการปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบที่ออกแบบไว้ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ยังพบว่าปัจจัย “การเกิดประโยชน์ร่วมกัน” มีความสำคัญมากที่สุด และแตกต่างจากงานวิจัยในอดีตปัจจัย “การมีความสัมพันธ์ที่ดี/ไว้วางใจกัน” มีความสำคัญไม่มากนักเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่น ส่วนปัจจัย”การมีผู้ชี้แนะ” เป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่เคยได้รับการกล่าวถึงมาก่อน ในขณะเดียวกันก็พบว่าการมีความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรระหว่างกันนั้นเกิดประโยชน์แก่รัฐวิสาหกิจจริงจากข้อมูลเชิงประจักษ์ 10 โครงการ ซึ่งประโยชน์ที่ได้ประกอบด้วย การเพิ่มรายได้ การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การมีสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพขึ้นหลากหลายขึ้น การสร้างความพึงพอใจมากขึ้น และ การเสริมภาพลักษณ์มากขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | This dissertation aims at identifying factors affecting the collaboration and resource sharing of state-owned enterprises (SOEs) so as to develop a subsequent governance system. The data collection comprises many steps from various data sources. They are 1) Two rounds of questionnaire surveys with top and middle management from 52 SOEs, 2) Semi-structured and in-depth interviews with stakeholders, i.e. legal departments of SOEs and the Ministry of Finance, and top management of the Bureau of Budget, Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB), the State Enterprise Policy Office (SEPO), and experts in 8 management/technology areas, and 3) In-depth interviews with SOEs, and stakeholders in order to verify the initial draft and to validate the finalized governance system. The research identifies 11 positive factors, i.e. understanding, mutual benefits, information availability, clear objective, evaluation, face-to-face dialogue, middleman, advisor, group leader, pilot project, and participation of related parties. Fourteen negative factors are the lack of “understanding, mutual benefits, information, clear objective, evaluation, face-to-face dialogue, relationship/trust, commitment, government support, managerial skills, consistent policy,” laws and regulations, monopolistic nature, and imbalance of power/resource. These factors, their levels of importance and degrees of manageability, along with comments from the interviews are prioritized to form system requirements and system considerations for the design of the governance system and its database. The governance system consists of SEPO as a central agency to convey policy, provide recommendations, and strengthen SOEs culture and visionary leadership, and NESDB as an advisor. The State Enterprise Policy Commission is a governing body and a policy giver. SOEs are executors with the support from their group leaders. The system database connects and exchanges vital information as well as ensures compliance with the system protocols. This research finds “mutual benefits” to be the most important factor. Contradicting to what has been stated in previous literature, “trust” is relatively less important whereas “advisor” emerges as a notable factor never been found before. There are also evidences from 10 collaboration and resource sharing projects that endorse the designed system’s merit. These benefits include improved efficiency/effectiveness/products & services/satisfaction/ and branding. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบการกำกับดูแลความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรร่วมกันของรัฐวิสาหกิจ | en_US |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT OF GOVERNANCE SYSTEM FOR COLLABORATION AND RESOURCE SHARING OF STATE-OWNED ENTERPRISES | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected] | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5287822520.pdf | 6.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.