Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46411
Title: | เรื่องเล่ากับสภาวะพลัดถิ่นในวรรณกรรมหลังยุคสงครามเย็นของนักเขียนเวียดนาม กัมพูชา และม้ง-ลาว |
Other Titles: | NARRATIVE AND DISPLACEMENT IN POST-COLD WAR LITERATURE OF VIETNAMESE, CAMBODIAN AND LAOTIAN-HMONG WRITERS |
Authors: | จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์ |
Advisors: | ชุติมา ประกาศวุฒิสาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | คนพลัดถิ่น อัตลักษณ์ในวรรณกรรม นักประพันธ์ -- เวียดนาม นักประพันธ์ -- กัมพูชา นักประพันธ์ -- ลาว สงครามเย็น สงครามกัมพูชา, ค.ศ. 1970-1975 สงครามเวียดนาม, ค.ศ. 1961-1975 สงครามในวรรณกรรม วรรณกรรม -- ประวัติและวิจารณ์ Diaspora Identity (Philosophical concept) in literature Authors -- Vietnam Authors -- Cambodia Authors -- Laos Cold war Cambodia -- History -- Civil War, 1970-1975 Vietnam War, 1961-1975 War in literature Literature -- History and criticism |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์บทบาทของเรื่องเล่าและสภาวะพลัดถิ่นในวรรณกรรมหลังยุคสงครามเย็นของนักเขียนเวียดนาม กัมพูชา และม้ง-ลาว โดยศึกษาวรรณกรรมของนักเขียนทั้ง 3 กลุ่ม ๆ ละ 3 เรื่อง และศึกษาบริบททางสังคม วัฒนธรรมและการเมืองในหลังยุคดังกล่าวที่ส่งผลต่อการพลัดถิ่นของกลุ่มคนเวียดนาม กัมพูชาและม้ง-ลาว จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมมีบทบาทสำคัญในการให้ความหมายใหม่กับประสบการณ์พลัดถิ่นอย่างหลากหลาย โดยสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของผู้เขียน วรรณกรรมของนักเขียนทั้ง 3 กลุ่ม นำเสนอให้เห็นรูปแบบประสบการณ์พลัดถิ่นอันเป็นผลมาจากการสูญเสียตัวตนและการสูญเสียพ่อแม่พี่น้องจากประสบการณ์สงคราม รวมถึงการตกอยู่ในพื้นที่ในระหว่าง 2 วัฒนธรรม และยังเผยให้เห็นความสำคัญของเรื่องเล่าครอบครัวที่เป็นเครื่องมือผูกร้อยเรื่องราว ซึ่งช่วยสะท้อนความหมายของบ้านที่เลื่อนไหลปรับเปลี่ยนไปตามบริบท โดยบ้านในวรรณกรรมของนักเขียนเวียดนามสื่อความหมายถึงชาติและวัฒนธรรมบรรพบุรุษ บ้านในวรรณกรรมของนักเขียนกัมพูชาหมายถึงครอบครัว ส่วนบ้านในวรรณกรรมของนักเขียนม้ง-ลาวสื่อความถึงชุมชนและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติพันธุ์ วรรณกรรมทั้ง 3 กลุ่ม ยังมีบทบาทสำคัญในการทำความเข้าใจอัตลักษณ์ วรรณกรรมของนักเขียนเวียดนามที่ผลิตขึ้นในเวียดนามสะท้อนจิตสำนึกที่ผูกอยู่กับอุดมการณ์ชาติซึ่งขัดแย้งกับความเป็นปัจเจก ส่วนวรรณกรรมของนักเขียนเวียดนามที่ผลิตในพื้นที่พลัดถิ่นสะท้อนการสร้างจิตสำนึกจากการรื้อฟื้นวัฒนธรรมของบรรพบุรษและประวัติศาสตร์ชาติ วรรณกรรมของนักเขียนกัมพูชาสะท้อนการสร้างอัตลักษณ์จากความทรงจำบาดแผล และใช้เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องความเป็นธรรม ส่วนวรรณกรรมของนักเขียนม้ง-ลาวพลัดถิ่นสะท้อนการสร้างอัตลักษณ์จากการรื้อฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับ “บ้าน” และการอ่านวัฒนธรรมของม้งและอเมริกาเพื่อก่อรูปอัตลักษณ์ม้ง-อเมริกันขึ้นในบริบทพลัดถิ่น วรรณกรรมของนักเขียนทั้ง 3 กลุ่ม เขียนขึ้นในบริบทของผู้มีความทรงจำบาดแผลจากผลกระทบของสงครามเย็น จากการศึกษายังพบว่า การถ่ายทอดความทรงจำบาดแผลในเรื่องเล่าความทรงจำบาดแผลต่างจากการถ่ายทอดความทรงจำในงานเขียนทั่วไป โดยเรื่องเล่าความทรงจำบาดแผลต้องใช้การผสมผสานรูปแบบงานเขียน การเขียนแบบไร้โครงเรื่องไร้การลำดับเวลา การเชื่อมโยงประสบการณ์เพื่อเล่าเรื่อง การเขียนในลักษณะแบ่งปันประสบการณ์และสร้างสำนึกร่วม และการใช้ภาษาที่พูดออกมาไม่ได้โดยตรง เช่น การใช้ภาษาภาพพจน์ สำนวนโวหาร เสียงและความเงียบ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความทรงจำบาดแผลได้ |
Other Abstract: | The aim of this thesis is to analyze the role of narrative and the condition of diaspora in literatures after the Cold War composed by Vietnamese, Cambodian, and Hmong-Lao writers. Three literatures from each of the three groups of authors are studied in terms of social context, culture, and politic after the Cold War effecting the dispersion of the Vietnamese, Cambodian, and Hmong-Lao from their original homeland. The study indicates that the literatures play important roles in providing new various meanings concerning diasporas’ experiences, many of which were related to social context and culture of the authors. These literatures from the three groups of the authors point out the formation of dispersion of people from their origin resulting from identities loss, losing families due the war, and living in between two cultures. In addition, the literatures uncover the importance of family narrative that they are being used as a tool to reflect the meaning of home which dynamically changed in their context. The Vietnamese authors have used home to symbolize the country and the culture of origins, whereas the Cambodian authors have used home to represent families. Home, as being used by Hmong-Loa authors, is embodied the community and culture relating to ethic. The literatures play essential roles in providing the understanding of identity in relation to various factors and context. The literatures by the Vietnamese authors, which were written in Vietnam, reflected the consciousness tied to the national ideology which conflicted with the individuality. The literatures, which were not written in the authors’ origin countries, reflected the awareness of resurrecting the culture of their ancestors and their national histories. The Cambodian literatures illustrate the creation of identity from traumatic memories, and use the narratives for demanding justice. The literatures by Homing-Lao diaspora, reflect the creation of identity from the memories of home. By reading about Hmong and American cultures, the Hmong-American identity has formed in context of diaspora. Literatures from the three groups are written in the context of traumatic memories of the writers due to the impacts of the Cold War. The study shows that there are differences between expressing the traumatic memories through narrative literatures and conveying memories through literatures in traditional ways. This is because, in expressing the traumatic memories through narrative literatures, the authors have combined forms of writings in order to connect experiences and memories, and using language to indirectly express what they want to say, such as using figurative language, all of which enable the authors to successfully convey their traumatic memories through literature. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46411 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1217 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1217 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5380516322.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.