Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46416
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเนาวนิตย์ สงครามen_US
dc.contributor.advisorประกอบ กรณีกิจen_US
dc.contributor.authorเอื้ออารี จันทรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:38:53Z-
dc.date.available2015-09-19T03:38:53Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46416-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลสภาพ 2) สร้าง 3) ศึกษาผล และ 4) นำเสนอระบบการเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน ผู้ดูแลเด็ก 10 คน คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาที่มีนโยบายจัดการเรียนรู้จากการทำงาน 5 มหาวิทยาลัย 467 คน ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน กลุ่มทดลองสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 13 คน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา วิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีหน่วยประกอบแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ทักษะการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารเป็นทักษะสำคัญสำหรับผู้ดูแลเด็กที่ต้องได้รับการพัฒนา 2) ระบบการเรียนรู้จากการทำงานฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ งาน กิจกรรม บุคคล เทคโนโลยี และการประเมินผล ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่า P-value เท่ากับ 0.12 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.027 ขั้นตอนสำคัญของระบบ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ตั้งเป้าหมายและวิเคราะห์งาน ขั้นตอนที่ 2 จัดทำแผนพัฒนางานและการสื่อสาร ขั้นตอนที่ 3 เรียนรู้จากการทำงาน ขั้นตอนที่ 4 เผยแพร่ผลงานและการเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยี 3 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงาน (คู่มืออิเล็กทรอนิกส์ คลังทักษะอิเล็กทรอนิกส์) ด้านการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง (สื่อสังคม) และด้านแหล่งเรียนรู้ (ทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิด) 3) กลุ่มทดลองเรียนรู้ในระบบ 12 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คะแนนเฉลี่ยทักษะการสื่อสารของการสื่อสารกับตนเอง เพื่อน เด็ก ผู้ปกครองและชุมชน รอบที่ 2 สูงกว่า รอบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนทักษะการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี 4) สัดส่วนการผสมผสานแบบออนไลน์ต่อออฟไลน์ คือ 70:30.en_US
dc.description.abstractalternativeThis study is a research and development which aimed to 1) study the various factors and process 2) establish 3) study the results and 4) present the work-based blended learning and technological scaffolding system to enhance communication skills of caregivers. Several statistics were applied in this research, they include percentages, averages, S.D., CFA, descriptive analysis, content analysis, one-way of variance: repeated measured. The research found that 1) communication skill using technology is the most important skill for caregivers 2) Work-based learning system consists of five elements – Work task, Activity, Key stakeholders, Technology, and Evaluation. The finding of CFA found that p value = 0.12, RMSEA = 0.0275. Significant processes of system were identified as KEYS which include four processes – Key determinants of interest area, Enabling development of plan and communication, Communicate at Your workplace, and Share and collaborate on work by technological scaffolding – job aids (e-Manual, e-skill bank), social media, and opened educational resources. 3) Participants attending WBSC-LMS for 12 weeks, resulting in higher scores in communication skills than pre-test (significant at the .05 level). The scores for the second round is higher than the first round (significant at the .05 level). Average score of samplings is satisfaction. 4) Ratio between online and offline is 70:30.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A WORK-BASED BLENDED LEARNINGAND TECHNOLOGICAL SCAFFOLDING SYSTEM TO ENHANCE COMMUNICATION SKILLS FOR CAREGIVERS UNDER LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, MINISTRY OF INTERIORen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384273527.pdf15.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.