Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46450
Title: SELF- REGULATION AND SHORT MESSAGE SERVICE (SMS) INTERVENTION FOR PROMOTING SAFE SEX AMONG ARMY CONSCRIPTS IN LOP BURI ARMY AREA, THAILAND
Other Titles: การกำกับตนเองและการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในกลุ่มทหารกองประจำการจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
Authors: Piyarat Eaimkhong
Advisors: Usaneya Perngparn
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: Health behavior
Sexual health
Health risk communication
Short message service
Self-control
Draftees -- Alcohol use -- Thailand
Draftees -- Drug use -- Thailand
พฤติกรรมสุขภาพ
สุขวิทยาทางเพศ
การสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ
บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
การควบคุมตนเอง
ทหารเกณฑ์ -- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- ไทย
ทหารเกณฑ์ -- การใช้ยา -- ไทย
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background: At present, sexual risk behaviors are threatening the health status and undermining quality of life of the Thai population. In particular, military recruits are among the most vulnerable people with HIV/AIDS and other STIs. Therefore, an innovative program is needed to promote safe sex behavior among conscripts. Objectives: To examine and compare the effectiveness of self-regulation and mobile phone Short Message Service (SMS) intervention program among 1-way SMS, 2-way SMS and control group to promote safe sex among army conscripts in Lop Buri army area. Methods: A quasi-experimental design was used for this study. The participants were military conscripts in Lop Buri army area recruited by multi-stage sampling technique. One hundred ninety-two conscripts were randomly selected to 1-way SMS (n=64), 2-way SMS (n=64) and control (n=64) groups respectively. The intervention consisteds of a formative study, training in self-regulation of safe sex with SMS communication. The SMS was sent 2 times a week for 3 months. A memorandum calendar was used to record safe sex behaviors. Data collection was administered at baseline, 1, 3, and 6 months after the end of the intervention by using a questionnaire developed from a review of related theories. Results: At 6 months follow-up conscripts in the 1-way SMS, 2-way SMS and control group were 55, 55 and 52 persons respectively. The results showed that there were significant difference for theoretical characteristics for self-regulation, self-efficacy, outcome expectancy, risk perception, intention to practice, and action plan (p-value < 0.05) at 1st, 2nd, and 3rd follow-ups. However, the safe sex practices in terms of condom use, abstinence from alcohol drinking and drug use before or during having sex showed significant differences among 3 groups only at the 3rd follow-up (p-value < 0.05). Conclusion and recommendations: Self-regulation and SMS intervention can promote perception and action planning for performing safe sex among army conscripts. The effect on safe sex practices in terms of condom use, abstinence from alcohol drinking and drug use before or during having sex have found only in the last follow-up. It is suggested that we should add more strengthen program with a proper methods for a message sending. In addition, creating a social networking group or the specific applications to access and exchange information should be consideration in order to achieve much benefit in the future.
Other Abstract: ความเป็นมา: พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศนับเป็นสิ่งที่คุกคามและบ่อนทำลายภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มทหารเกณฑ์กองประจำการนับเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญต่อการติดเชื้อโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการกำกับตนเองและการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือในกลุ่มที่ได้รับข้อความสั้นแบบทางเดียว แบบสองทาง และกลุ่มที่ไม่ได้รับข้อความสั้น ต่อการรับรู้ การเตรียมการปฏิบัติตัว และพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของทหารเกณฑ์กองประจำการในจังหวัดลพบุรี วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือทหารเกณฑ์กองประจำการในจังหวัดลพบุรี จำนวน 192 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบ่งกลุ่มประชากรเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือแบบทางเดียว (64 คน) กลุ่มที่รับข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือแบบสองทาง(64 คน) และกลุ่มควบคุม (64 คน) ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาพื้นฐานก่อนทดลอง กิจกรรมการแนะแนวทางในการกำกับตนเองและการสื่อสารด้วยวิธีส่ง SMS และการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือสัปดาห์ละ 2 ข้อความ เป็นเวลานาน 3 เดือน พร้อมทั้งจดบันทึกเพื่อการกำกับตนเองให้มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยประยุกต์จากแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลก่อนการวิจัย และหลังจากสิ้นสุดการวิจัยที่ระยะ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน ผลการวิจัย: การทดสอบความแตกต่างระหว่าง 3 กลุ่ม หลังสิ้นสุดการติดตามผลการวิจัยครบ 3 ครั้ง พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการกำกับตนเอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง การคาดหวังถึงผลลัพธ์ การรับรู้ความเสี่ยง ความตั้งใจที่จะปฏิบัติ และการวางแผนการปฏิบัติ (p-value <0.05) แต่การปฏิบัติตนด้านการใช้ถุงยางอนามัย การงดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเสพสารเสพติดก่อนหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 3 กลุ่ม จึงได้ทดสอบความแตกต่างในด้านการปฏิบัติตนเพื่อให้มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยภายในกลุ่มเดียวกัน ระหว่างก่อนและหลังสิ้นสุดการวิจัย พบว่ากลุ่มที่ได้รับข้อความสั้นแบบทางเดียวมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการงดเว้นสารเสพติดก่อนหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ที่ระยะ 6 เดือนหลังสิ้นสุดการวิจัย (p-value= 0.010) กลุ่มที่ได้รับข้อความสั้นแบบสองทางมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการงดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ที่ระยะ 6 เดือนหลังสิ้นสุดการวิจัย (p-value= 0.045) ส่วนกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังสิ้นสุดการวิจัย ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ การกำกับตนเองและการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือสามารถทำให้ทหารเกณฑ์กองประจำการ มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการรับรู้และเตรียมการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การงดเว้นการดื่มสุรา และเสพสารเสพติดก่อนหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตามโปรแกรมการกำกับตนเองและการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการใช้ถุงยางอนามัยได้ ดั้งนั้นการดำเนินงานโดยใช้โปรแกรมการกำกับตนเองที่มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ร่วมกับการใช้วีธีส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือในรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงมีควรมีการศึกษาต่อไป
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46450
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.375
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.375
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5479161253.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.