Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46495
Title: WTO กับมาตรการคุ้มครองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป : ศึกษากรณีการบังคับใช้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพของประเทศสเปน
Other Titles: WTO AND EUROPEAN UNION CLIMATE CHANGES PROTECTION MEASURES : A CASE STUDY OF THE IMPLEMENTATION OF BIOFUEL SUSTAINABILITY CRITERIA IN RENEWABLE ENERGY DIRECTIVE 2009 IN SPAIN
Authors: จุฬาลักษณ์ ดีแก้ว
Advisors: ทัชชมัย ทองอุไร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
Subjects: องค์การการค้าโลก
สหภาพยุโรป
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
พลังงานชีวมวล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- สเปน
World Trade Organization
European Union
Climatic changes
Biomass energy -- Law and legislation -- Spain
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการที่สหภาพยุโรปมีนโยบายส่งเสริมให้มีการนำเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้แทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลและกำหนดให้นำเกณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืนมาใช้กับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพภายในสหภาพยุโรปด้วย ส่งผลให้ประเทศสเปนซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปต้องนำข้อบังคับ RED 2009 ไปดำเนินการทำให้เป็นกฎหมายเพื่อใช้บังคับภายในประเทศ ได้แก่ มาตรการจัดสรรโควตาการผลิตไบโอดีเซลภายในประเทศตามกฎกระทรวงหมายเลข IET/822/2012 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 1597/2011 นั้น ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางการค้าไบโอดีเซลและเชื้อเพลิงชีวภาพภายในตลาดของประเทศสเปนอย่างไร และมาตรการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ภายใต้องค์การการค้าโลกหรือไม่ จากการศึกษาพบว่ามาตรการจัดสรรโควตาการผลิตไบโอดีเซลภายในประเทศสเปนในประเด็นที่มีข้อกำหนดให้สิทธิเฉพาะผู้ผลิตไบโอดีเซลภายในประเทศและภายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรโควตาการผลิตไบโอดีเซล ไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติของแกตต์ 1994 เนื่องจากเป็นมาตรการที่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าที่เป็นสินค้าชนิดเดียวกันที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศนอกสหภาพยุโรปโดยมาตรการดังกล่าวมีผลเป็นการจำกัดแหล่งที่มาของสินค้าไบโอดีเซลจากประเทศผู้ส่งออกไบโอดีเซลไปยังประเทศสเปนทำให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวขาดโอกาสในการเสนอขายสินค้าไบโอดีเซลภายในตลาดของประเทศสเปน ส่วนประเด็นที่ให้นำเกณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืนมาใช้ในการพิจารณาให้การรับรองคุณภาพไบโอดีเซลภายใต้ระบบการจัดสรรโควตาการผลิตไบโอดีเซลนั้น ไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติของแกตต์ 1994 เนื่องจากการกำหนดค่าโดยปริยายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Default Values) ที่กำหนดไว้แตกต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และการนำปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระหว่างการคมนาคมขนส่งเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในวิธีการคำนวณค่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Methodology) ตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืนนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสินค้าที่มีแหล่งที่มาจากประเทศนอกสหภาพยุโรปทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยพฤตินัยได้ต่อสินค้านำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศนอกสหภาพยุโรปและนอกจากนี้เกณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืนยังถือเป็นกฎระเบียบทางเทคนิคที่ไม่สอดคล้องกับความตกลง TBT เนื่องจากก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าเกินกว่าความจำเป็นในกรณีที่จะต้องใช้วิธีพิสูจน์ค่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความเป็นจริง (Actual Value) ในทุกครั้งที่มีการนำเข้าสินค้า และมาตรการจัดสรรโควตาการผลิตไบโอดีเซลภายในประเทศสเปนไม่สอดคล้องกับข้อยกเว้นตามมาตรา 20 (จี) ของแกตต์ 1994 เพราะไม่เป็นมาตรการที่ทำให้เกิดผลควบคู่ไปกับการจำกัดการผลิตและการจำกัดการบริโภคภายในประเทศและยังเป็นการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศมากขึ้นและไม่สอดคล้องกับบทนำของมาตรา 20 ของแกตต์ 1994 คือ เป็นมาตรการที่เลือกปฏิบัติตามอำเภอใจหรือไม่มีเหตุผลเพราะเป็นมาตรการที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากประเทศนอกสหภาพยุโรปเข้ามาร่วมกระบวนการจัดสรรการผลิตไบโอดีเซล ดังนั้นการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศจึงควรที่จะวางอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทางวิชาการเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ และควรที่จะมีการจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงชีวภาพเพราะมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีการนำเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study how measures for distribution of internal biodiesel production quota in accordance with Ministerial Order IET/822/2012 and the Royal Decree no. 1597/2011 constitutes trade discrimination in biodiesel and biofuels market in Spain and whether such measures comply with WTO regulations. The study shows that the measure concerning distribution of internal biodiesel production quota in Spain, namely the regulation that confers the right to receive quota for producing biodiesel solely to Spanish and EU internal biodiesel producers, is contrary to Non-Discrimination principle under the GATT 1994 since the measure discriminates against imported like products from origins outside the EU as it restricts the origin of biodiesel products from exporting countries to Spain. As a result, those impacted countries would lose the opportunities to trade their biodiesel products in Spain. The application of criteria for sustainable biofuels in the quota system is also contrary to WTO principles in the following: (1) It contradicts GATT 1994 Non-Discrimination principle because the Default Values criteria for sustainable biofuels were set differently for different biofuels’ raw material and the use of Actual Value calculated in accordance with the methodology affects products of the non-EU origin, which constitutes de facto discrimination. (2) It contradicts the Agreement on Technical Barriers to Trade because it amounts to excessive trade barrier by requiring the proof of Actual Value in every import. (3) It contradicts the chapeau and paragraph (g) of Article 20 of the GATT1994 as it constitutes an arbitrary discriminatory measure because it promotes internal trade in Spain and is not allowable to producers of biofuels outside the EU which joined the allocation process of production. Therefore, the criteria of the usage of sustainable biofuels domestically should be based on scientific justification or academic studies. In order to ensure that those criteria would not be specified only to serve as a protection of domestic industries, they should be created international standards concerning the use of biofuels which are liable to be reduced and possibly become mechanisms to manage climate change problems in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46495
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1272
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1272
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485961934.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.