Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46497
Title: บทบาทของคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศและคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำระหว่างประเทศ
Other Titles: THE CONTRIBUTION OF INTERNATIONAL ARBITRAL AWARDS AND THE INTERNATIONAL COURTS JUDGEMENTS TO THE PROTECTION OF INTERNATIONAL RIVER ENVIRONMENT
Authors: ฎาพร อาจหาญ
Advisors: ศารทูล สันติวาสะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: แม่น้ำนานาชาติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
กฎหมายระหว่างประเทศ
อนุญาโตตุลาการ
International rivers -- Law and legislation
Environmental law
International law
Arbitrators
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศและคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ มีฐานะเป็นสิ่งที่ช่วยในการกำหนดหลักกฎหมาย โดยมิใช่แหล่งที่มาโดยตรงของกฎหมาย อีกทั้งคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาในคดีก่อนหน้าไม่ได้มีผลผูกพันให้คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศต้องยึดตามแนวทางในคดีก่อนหน้า แม่น้ำระหว่างประเทศเป็นทรัพยากรที่รัฐริมน้ำมีการแสวงหาประโยชน์โดยยึดหลักอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะข้ามเขตแดนต่อทั้งรัฐริมน้ำอื่น และพื้นที่ส่วนรวมของโลก แม้ว่าปัจจุบันมีกฎหมายจารีตประเพณีที่ควบคุมการใช้แม่น้ำระหว่างประเทศในลักษณะที่มิใช่เพื่อการเดินเรือ แต่หลักกฎหมายที่สามารถนำมาใช้บังคับเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของรัฐริมน้ำหรือคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำระหว่างประเทศยังมีความไม่ชัดเจนทั้งในด้านสถานะและเนื้อหา จากการศึกษาพบว่า คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศมีบทบาทในการบ่งชี้และยืนยันหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สร้างความชัดเจนให้กับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีผลเป็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำระหว่างประเทศ
Other Abstract: The international arbitral awards and the international court judgements are subsidiary means for the determination of rules of law. The arbitrator and the judge may refer to their precedent, but it has no binding character. The exploitation of international rivers by riparian states is based on territorial sovereignty principle which might causes harm to the territory of another riparian state or the areas beyond national jurisdiction. Although some basic customary rules have emerged, the law often leaves gaps and ambiguities. The analysis on the awards and the judgements demonstrate that international courts and tribunals have an important role in the progressive development of international law result in the international river environmental protection.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46497
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1274
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1274
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485971134.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.