Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46667
Title: | ภาวะพหุสัณฐานของยีน XRCC1 ที่โคดอน 194 280 และ 399 ในผู้ป่วยโรคเนื้องอกเซลล์ต้นกำเนิดฟัน |
Other Titles: | Polymorphisms of XRCC1 gene codons 194, 280 and 399 in ameloblastoma patients |
Authors: | ฐิติพร บุญสุวรรณ |
Advisors: | ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เนื้องอกที่มีต้นกำเนิดจากฟัน การซ่อมแซมดีเอ็นเอ ความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม Odontogenic tumors DNA repair Genetic polymorphisms |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคเนื้องอกเซลล์ต้นกำเนิดฟัน (ameloblastoma) เป็นโรคเนื้องอกที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มของเนื้องอกที่มีต้นกำเนิดจากฟัน (odontogenic tumor) เนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง แต่พฤติกรรมเฉพาะของโรคจะคล้ายมะเร็ง และมีอัตราการเกิดโรคซ้ำสูง สำหรับ DNA repairing gene (กลุ่มย่อยของเป็นยีนต้านมะเร็ง) เป็นกระบวนการซ่อมแซมและป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอซึ่งกระบวนการ Base-excision repair (BER) เป็นกระบวนการสำคัญในการซ่อมแซมดีเอ็นเอและในกระบวนการมียีนที่สำคัญคือ X-ray repair cross-complementing Group1 gene (XRCC1) เป็นยีนที่เกิดพอลิมอร์ฟิซึมได้สูงและมีการศึกษามากในโคดอน 399 (Arg399Gln) ว่ามีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคในหลายๆ โรค และจากการศึกษาของ นครินทร์ กิตกำธร และคณะ พบความสัมพันธ์ของพอลิมอร์ฟิซึมของยีน TP53 ตำแหน่ง โคดอน 72 ว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเนื้องอกเซลล์ต้นกำเนิดฟัน ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงตั้งสมมุติฐานว่าการเกิดพอลิมอร์ฟิซึมในยีน XRCC1 บริเวณ โคดอน 194 280 และ 399 น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดโรคเนื้องอกเซลล์ต้นกำเนิดฟันในประชากรไทยได้ โดยใช้เทคนิค Polymerase Chain Reaction-Restriction Fragment Length Polymorphism (PCR-RFLP) มาใช้ในการศึกษาความหลากหลายของรูปแบบของยีน XRCC1 ที่ตำแหน่งโคดอน 194 280 และ 399 ในรอยโรคเนื้องอกเซลล์ต้นกำเนิดฟันในผู้ป่วยชาวไทยโดยใช้ไพร์เมอร์ที่จำเพาะกับลำดับเบส และยืนยันลำดับเบสด้วยการส่ง sequencing ในประชากรที่เป็นโรคเนื้องอกเซลล์ต้นกำเนิดฟันจำนวน 82 รายและในประชากรปกติ 140 ราย โดยในประชากรปกติแบ่งเป็นแบ่งเป็นผู้ชาย 71 ราย (50.71%) และผู้หญิง 69 ราย (49.29%) และในผู้ป่วยโรคเนื้องอกเซลล์ต้นกำเนิดฟันแบ่งเป็นผู้ป่วยชาย 41 ราย (50%) และผู้ป่วยหญิง 41 ราย (50%) ในการหาความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคเมื่อเทียบในประชากรผู้ป่วยเป็นโรคกับประชากรปกติ ในโคดอนที่ 194 มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 1.62 (1.05-2.48) P-value เท่ากับ 0.027 และในโคดอนที่ 399 มีค่าOR (95%CI) เท่ากับ1.83 (1.19-2.81) P-value เท่ากับ 0.005 ซึ่งทั้ง 2 โคดอนมีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรค แต่ในโคดอนที่ 280 นั้นไม่พบความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคโดยมีค่า OR (95%CI) เท่ากับ1.09 (0.62-1.89) P-value เท่ากับ 0.862 สำหรับรูปแบบแฮพลอไทป์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคมากที่สุดคือ GGC มีค่า P = 0.000472 และในการยืนยันว่าตัวอย่างเนื้อเยื่อของผู้ป่วยนั้นไม่ได้เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ร่างกายโดยการหาค่า Coefficient of variation (%CV)ต้องมีค่าไม่เกิน 10% พบว่าทั้ง 3 โคดอนมีค่าไม่เกิน 10% จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นปัจจัยร่วมกับยีนอื่นๆ เพื่อใช้ในการทำนายความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ |
Other Abstract: | Ameloblastoma is the second most common in odontogenic tumor. It characterizes as a benign neoplasm, locally invades and frequently recurs.DNA repairing gene (sub set of tumor suppressor gene) plays a critical role in protecting the genome from carcinogens. Base-excision repair (BER) is an important DNA repair pathway The X-ray repair cross-complementing Group1 (XRCC1) gene has been defined as essential in the base excision repair (BER) and single-strand break repair processes. This gene is highly polymorphic, the most extensively studied genetic changes are in codon 399 (Arg399Gln) and Kitkumthornet al found the list of tumor suppressor gene in ameloblastoma. To test the hypothesis that XRCC1codon 194, 280 and 399 polymorphism was associated with an increased risk of developing ameloblastoma in the Thai population. Genotyping was performed by polymerase chain reaction restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) confirm by sequencing in 82 AB patients and 140 normal controls.Normal controlsmale 71case (50.71%), female 69 case (49.29%) andAmeloblastomamale 41case (50.00%), female 41 case (50.00%). We found association Ameloblastoma in codon 194 OR (95%CI) 1.62 (1.05-2.48) P-value= 0.027and codon 399 OR (95%CI) 1.83 (1.19-2.81) P-value=0.005 not found in codon 280 OR (95%CI) 1.09 (0.62-1.89) P-value=0.862. The GGC is risk haplotypes P = 0.000472.Thus we conferm sample not somatic mutation with Coefficient of variation (%CV) and found less than 10% that mean not somatic mutation. Our study suggests that SNPs:XRCC1codon 194 and 399 are one of the genetic risk factors for Ameloblastoma and that those polymorphism may be useful as one of the genetic markers for predicting the occurrence of this disease. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พันธุศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46667 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2052 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2052 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thitiporn_bo.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.