Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46740
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโชติกา วิทยาวรากุล-
dc.contributor.advisorพล ธีรคุปต์-
dc.contributor.authorวรรณชนิต สงวนวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-24T06:20:02Z-
dc.date.available2015-09-24T06:20:02Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46740-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractอนุสัญญาภาษีซ้อนเป็นกลไกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อขจัดการความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษี แต่ในทางปฏิบัติ การปรับใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างคู่สัญญาก่อให้เกิดข้อพิพาททางภาษีอากรระหว่างรัฐซึ่งเกี่ยวกับการปรับใช้และการตีความอนุสัญญาภาษีซ้อน จากข้อพิพาทดังกล่าวที่เกิดขึ้น อนุสัญญาภาษีซ้อนจึงได้กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรไว้เป็นการเฉพาะ กล่าวคือ วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกันซึ่งเดิมเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบันพบว่า วิธีการดังกล่าวไม่สามารถระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดกลไกบังคับเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในการระงับข้อพิพาท เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจมีดุลพินิจในการรับหรือไม่รับข้อพิพาท การไม่มีกลไกบังคับให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของอีกรัฐหนึ่งให้ความร่วมมือในการเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท จึงมีแนวความคิดในการนำการอนุญาโตตุลาการแบบบังคับมาใช้เพื่อระงับข้อพิพาททางภาษีอากร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงศึกษาความเป็นไปได้ในการนำการอนุญาโตตุลาการมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรระหว่างรัฐภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อน โดยศึกษากลไกและแนวความคิดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ประกอบกับแนวทางในการนำการอนุญาโตตุลาการไปใช้ รวมถึงอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ระบุให้มีกลไกการระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาดังกล่าว ผู้เขียนพบว่า การอนุญาโตตุลาการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรระหว่างรัฐภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนได้ อย่างไรก็ดี การที่ประเทศไทยจะนำการอนุญาโตตุลาการแบบบังคับมาใช้นั้นมีข้อพิจารณาสำคัญหลายประการ เช่น การจำกัดขอบเขตการใช้อนุญาโตตุลาการสำหรับบางประเภทข้อพิพาท หรือบางรัฐคู่สัญญา หรือกระบวนการในการจัดทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เป็นต้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้แก้ไขปรับปรุงที่วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกันด้วย เช่น การจำกัดบทบาทของกฎหมายภายในไม่ให้เกี่ยวข้องกับการขจัดภาษีซ้อน การจำกัดดุลพินิจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในการรับหรือไม่รับข้อพิพาท รวมถึงการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรระหว่างรัฐภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยเฉพาะ เป็นต้น เพื่อให้กระบวนการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรระหว่างรัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeDouble Taxation Agreements have been concluded to eliminate duplicated taxation. However, in practice, implementation of double taxation agreements between parties has led to international tax dispute regarding interpretation of the double taxation agreements. Therefore, the double taxation agreements have included the specific procedure on the settlement of tax dispute. Previously, Mutual Agreement Procedure was considered an effective dispute settlement. Now a day, such procedure is no longer effective due to various limitations including lack of enforcement mechanism over different state authorities regarding collaboration on entering dispute settlement process. Thus, mandatory arbitration for tax dispute settlement was introduced. This study explores the possibility of introducing arbitration to enhance effectiveness of international tax dispute settlement under the double taxation agreements by considering of mechanism proposed by OECD, arbitration enforcing guideline, and dispute settlement by arbitration in the double taxation agreements in the USA. The research concludes that arbitration can enhance dispute settlement in double taxation cases. However, conditions and limitations need to be considered include the scope of enforcement on certain cases or parties, decision process of arbitration award. Due to limitations of arbitration, the author suggests a reform of Mutual Agreement Procedure, particularly limiting national law in double taxation cases, limiting authority discretion whether to accept or dismiss the dispute, and designing structure of focal institution responsible for settlement of international tax disputes under the double taxation agreements in order to maximize the effectiveness of the settlement of international tax disputes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1345-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีซ้อน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen_US
dc.subjectการระงับข้อพิพาทen_US
dc.subjectอนุสัญญาภาษีซ้อนen_US
dc.subjectDouble Taxation -- Law and legislation -- Thailanden_US
dc.subjectDispute resolution (Law)en_US
dc.subjectDouble taxation -- Treatiesen_US
dc.titleการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรระหว่างรัฐ : ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำการอนุญาโตตุลาการมาใช้กับอนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe settlement of international tax disputes between the states : studying the possiblity of introducing arbitration into Thailand's double taxation agreementsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1345-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchanit_sa.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.