Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46768
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิศรา ชูชาติ-
dc.contributor.authorอัจฉรา ปานรอด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-30T01:39:38Z-
dc.date.available2015-09-30T01:39:38Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46768-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป และ 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศกับกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชินี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์ จำนวน 31 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 และ 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ร้อยละ 70.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 และมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์มีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์ สามารถพัฒนานักเรียนในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were 1) to study and compare science learning achievement between the group learning by inquiry instruction using concept mapping and the group learning by conventional teaching method, and 2) to compare attitude towards science learning of the upper secondary school between the group learning by inquiry instruction using concept mapping and the group learning by conventional teaching method. The samples were two classes of Mathayom Suksa five students of Rajini School at Pranakorn, Bangkok Metropolis. They were an experimental group learning byinquiry instruction using concept mapping with 31 students and a control group learning by conventional teaching method with 31 students. The research instruments were 1) a science learning achievement test with the reliability at 0.82, and 2) the test on attitude towards science learning with the reliability at 0.93. The research findings were summarized as follows: 1. Students learning by inquiry instruction using concept mapping had mean score on science learning achievement at 70.76 percent which was higher than the criterion score set at 70 percent and higher than students learning by conventional teaching method at 0.05 level of significance. 2. After learning by inquiry instruction using concept mapping, the students’ mean score on attitude towards science learning was higher than before learning and higher than the students learning by conventional teaching method at 0.05 level of significance. Thurs, it could be summarize that science instruction base on inquiry instruction using concept mapping was able to improve student’s science learning achievement and attitude towards science learning.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1349-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแผนผังมโนทัศน์en_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectConcept mappingen_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.subjectScience -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.titleผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้การเชื่อมโยงแผนผังมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeEffects of inquiry instruction using concept mapping on learning achievement and attitude towards science learning of upper secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1349-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atchara_pa.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.