Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46771
Title: การอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองชาวเลในหมู่บ้านสังกาอู้จังหวัดกระบี่ : การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา
Other Titles: Child rearing practices of Chao Lay parents in Sungka-Ou village, Changwat Krabi : an ethnographic study
Authors: สุรัสวดี กองสุวรรณ์
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เด็ก -- การดูแล
ชาวเล
สังกาอู้ (กระบี่) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองชาวเล ในด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองชาวเล ในด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการจากผู้ปกครองชาวเล. จำนวน 5 ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองชาวเลผู้เป็นแม่ มีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กชาวเลมากที่สุดและพ่อมีบทบาทน้อย การอบรมเลี้ยงดูส่วนใหญ่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายมากกว่าพัฒนาการด้านอื่นๆ การอบรมเลี้ยงดูด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ผู้ปกครองชาวเลเน้นการดูแลให้เด็กรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ การดูแลและรักษาพยาบาลเมื่อเด็กเจ็บป่วยตามความเชื่อของตน การอบรมเลี้ยงดูด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้ปกครองชาวเลแสดงความรักโดยการอุ้ม กอด และสัมผัสเด็กอย่างสม่ำเสมอ การใช้สื่อพื้นบ้านเพื่อพัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กน้อย การอบรมเลี้ยงดูด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ผู้ปกครองชาวเลส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และฝึกให้เด็กมีน้ำใจ รู้จักแบ่งปันและมีความสามัคคี การอบรมเลี้ยงดูด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ผู้ปกครองชาวเลส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้านภาษา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ภายใต้ปริบทของชาวเล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองชาวเล วิเคราะห์ตามทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางระบบครอบครัวและเครือญาติ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางการศึกษา ปัจจัยทางความเชื่อ และปัจจัยทางวัฒนธรรมประเพณี
Other Abstract: The purposes of this research were to study the child rearing practices of Chao Lay parents in promoting child development and to investigate factors affecting the practices. As an ethnographic study,participant observation and informal interview were used to collect data. Analytic Induction was then used to analyze the data. The results of this study revealed Chao Lay mothers had more roles in child rearing than the fathers and emphasized the child’s physical development more than other areas of development. In supporting the child’s physical development, Chao Ley parents emphasized eating and folk ways of nursing when their children were ill. In supporting the child’s mind and emotional development, Chao Lay parents were usually expressed affection for children by holding and touching and seldom used folk materials to support this development. In supporting the child’s social development, Chao Lay parents encouraged their children to have good relationship with other children and adults in the village and tought them to be helpful, sharing and co-operative. In supporting the child’s intellectual development, Chao Lay parents supported their children’s language learning, creative thinking and learning about natural, environment within their context. Cultural Ecology theory were used to analyze the factors affecting the child rearing practices of Cho Lay parents. The results revealed geography, family and kinship, economics, society, education, beliefs and culture were factors that had affected the child rearing practices of Chao Lay parents.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46771
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suraswadee_ko_front.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
Suraswadee_ko_ch1.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open
Suraswadee_ko_ch2.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Suraswadee_ko_ch3.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open
Suraswadee_ko_ch4.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Suraswadee_ko_ch5.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open
Suraswadee_ko_back.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.