Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46838
Title: การสร้างแบบจำลองการเดินทาง : กรณีศึกษาสำหรับพื้นที่ในเขตผังเมืองรวมท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Travel demand modeling : a case study for Tha-Mai general plan, Changwat Chanthaburi
Authors: สมชาย ปฐมศิริ
Advisors: อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การเดินทาง
รูปแบบการเดินทาง
การเกิดการเดินทาง
แบบจำลองการเดินทาง
ท่าใหม่(จันทบุรี)
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบจำลองเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมการเดินทางของมนุษย์ โดยเน้นที่แบบจำลองการเลือกรูปแบบการเดินทางประเภท Disaggregate ซึ่งค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย ความแตกต่างระหว่างแบบจำลองที่ใช้ในปัจจุบัน หรือ Aggregate และแบบจำลอง Disaggregate อยู่ที่การนำข้อมูลมาใช้ในการปรับแก้ไขเพื่อสร้างแบบจำลอง โดยที่ประเภทแรกจะใช้หน่วยการวิเคราะห์เป็นพื้นที่ย่อย ตัวแปรต่าง ๆ จะเป็นค่าเฉลี่ยของพื้นที่นั้น ๆ ในขณะที่ประเภทหลังใช้ข้อมูลพฤติกรรมรายบุคคลโดยตรง ผู้ศึกษาได้เลือกเอาพื้นที่ในเขตวางผังเมืองรวมเมืองท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นกรณีศึกษาสำหรับการรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการปรับแก้เพื่อสร้างแบบจำลองการเลือกรูปแบบการเดินทาง ลักษณะของแบบจำลองเป็นการเลือกระหว่างสองรูปแบบการเดินทาง คือ Public และ Private Mode โดยใช้แบบจำลอง Disaggregate ที่เรียกว่า Binary Logit มี Utility Function เป็นฟังก์ชั่นเชิงเส้นตรง ทำการปรับแก้หาค่าพารามิเตอร์ด้วยข้อมูลที่แสดงพฤติกรรมรายบุคคลตามวิธีการ Maximum Likelihood Estimation ผลจากการปรับแก้ได้แบบจำลอง ซึ่งสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมการเลือกในสภาพปัจจุบัน 2 ลักษณะซึ่งแตกต่างกันทางด้านจำนวนตัวแปรที่ใช้ กล่าวคือ แบบจำลองลักษณะที่หนึ่งจะมี 2 ตัวแปร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการเดินทางหารด้วยรายได้ต่อเดือน (Out-of-pocket Cost/Monthly Income) และการมีใบขับขี่อยู่ใน Utility Function ในขณะที่แบบจำลองลักษณะที่สองมีเพียงตัวแปรแรกเท่านั้น การนำเอาแบบจำลองจากวิทยานิพนธ์ไปใช้ประมาณการสัดส่วนการเดินทางในอนาคต นักวิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ในพื้นที่ศึกษา ยังคงมีแนวโน้มที่จะมีรถยนต์ส่วนตัวไว้ในครอบครองเช่นเดียวกับสภาพปัจจุบันหรือไม่ ถ้ามั่นใจเช่นนั้น ควรเลือกใช้แบบจำลองของลักษณะที่หนึ่ง
Other Abstract: This theses focuses on using disaggregate method in the development of travel demand model. Such method is considered to be quite new in Thailand where aggregate method is currently used. The main difference between these two methods lies in the values of socio-economic inputs form, which the aggregate method uses average value from each subzone within study area while the disaggregate does not. Socio-economic data input were from Tha-Mai town in Chanthaburi province and the model developed exhibits two main choices of travelling namely private mode and public mode. In calibration process, binary logit form was used with utility in linear form of equation as functions. Such functions were estimated by maximum likelihood method. The results which emerged from final calibration are in two forms of equation, the first one has two variables namely travel cost/monthly income and possession of driving license as its parameter while the sccond one only has one variable namely travel cost/monthly income as its parameter. In choosing which set of equation to be used depend on likelihood of development whether it is private car oriented or public transport or iented. If the former is the case, then the first set of equation with two variables is more appropriate and vis-à-vis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46838
ISBN: 9745784079
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_pa_front.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pa_ch1.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pa_ch2.pdf10.26 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pa_ch3.pdf12.99 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pa_ch4.pdf13.78 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pa_ch5.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_pa_back.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.