Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46901
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง, กลวิธีการเผชิญปัญหา และความพึงพอใจในชีวิตในนักศึกษามหาวิทยาลัย |
Other Titles: | RELATIONSHIPS BETWEEN PERCEPTION OF INTERPARENTAL CONFLICT, COPING STRATEGIES, AND LIFE SATISFACTION |
Authors: | กิตติคุณ ซึ้งหฤทัย เทพประทาน สีดาบุตร ศุภณัฐ รอดหลง |
Advisors: | ณัฐสุดา เต้พันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ครอบครัว การปรับตัว (จิตวิทยา) Domestic relations Adjustment (Psychology) |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | คณะจิตวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง กลวิธีการเผชิญปัญหา และความพึงพอใจในชีวิต เพื่อศึกษาว่าแต่ละตัวแปรมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตอย่างไร และสามารถทำนายความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยได้หรือไม่ โดยศึกษาในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จำนวน 184 คน อายุตั้งแต่ 18-22 ปี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบวัดการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองของบุตร (α = .925) แบบวัดกลวิธีการเผชิญปัญหา (α รายกลุ่มพฤติกรรม > .70) แบบวัดความพึงพอใจในชีวิต (α = .80) และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแก่กลุ่มตัวอย่าง จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ทางสถิติแบบเพียร์สัน (Pearson-product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีใส่ตัวแปรอิสระเข้าสมการทุกตัวพร้อมกัน (Enter) ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบการเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง [r(182) = .195, p < .01, หนึ่งหาง] กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม [r(182) = .167, p < .05, หนึ่งหาง] และกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบการวางแผน [r(182) = .144, p < .05, หนึ่งหาง] มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางตรงกันข้ามการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองของบุตร [r(182) = -.348, p < .01, หนึ่งหาง] และกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบการหมกมุ่นในอารมณ์ [r(182) = -.334, p < .01, หนึ่งหาง] มีสหสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองของบุตร(β = -.243, p < .01) กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีปัญหา (β = .193, p < .05) กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม (β = .200, p < .01) และกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบการหมกมุ่นในอารมณ์ (β = -.351, p < .001) สามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในชีวิตได้ อย่างไรก็ตามพบว่ากลวิธีการเผชิญปัญหาแบบการหมกมุ่นในอารมณ์มีอำนาจในการทำนายความพึงพอใจในชีวิตสูงที่สุด โดยมีการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองของบุตรมีคะแนนรองลงมา |
Other Abstract: | This study was aimed to examine relationships between perception of interparental conflict, coping strategies, and life satisfaction, and how life satisfaction would be predicted by interparental conflict and coping strategies. Data were collected from university students. 184 undergraduates. Participants completed a demographic questionnaire, Children’s Perception of Interparental Conflict Scale (CPIC) (α = .925), Coping Strategies Scale (α per behavior groups > .70), and Satisfaction with Life Scale (SWLS) (α = .80). Data were analyzed by using Pearson-product moment correlation and Multiple Regression Analysis (Enter method). The result showed that active coping strategies [r(182) = .195, p < .01, one-tailed], social support seeking coping strategies [r(182) = .167, p < .05, one-tailed], and planning coping strategies [r(182) = .144, p < .05, one-tailed] were positively associated with life satisfaction. Perception of interparental conflict [r(182) = -.348, p < .01, one-tailed] and ruminative coping strategies [r(182) = -.334, p < .01, one-tailed] were negatively associated with life satisfaction. Moreover, perception of interparental conflict (β = -.243, p < .01), avoidant coping strategies (β = .193, p < .05), social support seeking coping strategies (β = .200, p < .01), and ruminative coping strategies (β = -.351, p < .001) significantly predicted life satisfaction and explained 24.0% of its variance. In addition, ruminative coping strategies was strongest in its predictive power, and followed by perception of interparental conflict. |
Description: | โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2014 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46901 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1381 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1381 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Psy - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kittikun_su.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.