Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47390
Title: ผลกระทบจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาในการริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469
Other Titles: The Effect of the Precedent of Supreme Court in Forfeiture by Customs ACT B.E.2469 Article 27 Bis
Authors: โสรัจ สังขวรรณ
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
มานิต วิทยาเต็ม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษีศุลกากร
การลงโทษ(ริบทรัพย์สิน)
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดยพื้นฐานของกฎหมายกฏหมายศุลกากร เป็นกฎหมายมหาชนทางด้านเศรษฐกิจ กฏหมายอาญา เป็นกฎหมายมหาชนทางด้านการปกครอง และความมุ่งหมายในการลงโทษริบทรัพย์สินของกฎหมายศุลกากร เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการลักลอบ หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตามนโยบายทางภาษีอากรของรัฐ ส่วนกฎหมายอาญา เพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงทำให้การบังคับใช้กฏหมายศุลกากรและกฎหมายอาญา ในการลงโทษริบทรัพย์สินมีความแตกต่างกัน การที่ศาลฎีกา นำหนักทั่วไปเรื่องการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับแก่ ความผิดมาตรา 27 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติลงโทษริบทรัพย์สินไว้นั้นจากการศึกษาพบว่า การบังคับใช้กฎหมายตามแนวการตีความของศาลฎีกาดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาในการจับกุม การยึดทรัพย์ การดำเนินคดีศุลกากร การพิจารณาคืนของกลาง การจำหน่ายของกลาง และมีผลต่อการปราบปรามการลักลอบหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร รวมทั้งมีผลต่อการตีความการบังคับใช้กฎหมายในมาตราอื่นๆ ที่มีการบัญญัติกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนั้นยังพบว่า หากต้องการให้กฎหมายศุลกากรมีการบังคับ ใช้ที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ หรือเจตนารมณ์ที่แท้จริง ซึ่งได้แก่ การป้องกันและปราบปรามการลักลอบ หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรปรับปรุงพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ให้มีบทลงโทษที่ชัดเจน และชี้ให้สังคมส่วนรวมเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายศุลกากรต้องยึดถือปรัชญากฎหมายภาษีอากร ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนทางด้าน เศรษฐกิจ เพื่อมุ่งคุ้มครองผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจส่วนรวมเป็นสำคัญ
Other Abstract: By its background, customs law is a public law with economic aspect while criminal law is a public law with administrative aspect. The purpose of inflicting penalty of property forfeiture of the customs law to the offender is to prevent and suppress the acts of customs duty evasion according to the taxation policy of the state. On the contrary, The criminal law serves as means of the state to keep law and order of the society. This accounts for the major difference between the enforcement of customs law and that of criminal law. The fact that the Supreme Court applies the general principle of property forfeiture under the Penal Code to the offense under Section 27 bis of the Customs Act of 1926-which does not provide for the penalty of property forfeiture-gives rise to many question, e.g. arrest, property seizure, prosecution of a customs case, determination of the return of a seized property. It also affects the suppression of acts of customs duty evasion, as well as the interpretation of the enforcement of law in other sections with similar contents. In addition, this thesis finds that if the customs law is to be correctly enforced in accordance with its real purpose or intention, which is to prevent and suppress acts of customs duty evasion efficiently and effectively, the Customs Act of 1962, Section 27 bis should be changed to contain a clear penalty provisions, and it should be publicly pointed out that the enforcement of the customs law requires adherence to its philosophy as a public law which is basically intended to protect common economic interests.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47390
ISBN: 9745825786
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorat_su_front.pdf7.8 MBAdobe PDFView/Open
Sorat_su_ch1.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open
Sorat_su_ch2.pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open
Sorat_su_ch3.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open
Sorat_su_ch4.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Sorat_su_ch5.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open
Sorat_su_back.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.