Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47542
Title: การมีส่วนร่วมของชุมชนในศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน "พิทักษา" ชุมชนวัดอมรทายิการาม
Other Titles: Community porticipation in the "Pitaksa" pre-school child-care center Wat Amontayikaram community
Authors: วิชชุลดา สิงห์โต
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เด็กวัยก่อนเข้าเรียน--บริการที่ได้รับ--ไทย
ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน--ไทย
การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Preschool children--Services for--Thailand
Community development -- Citizen participation
Day care centers--Thailand
Preschool children—Services for--Citizen participation
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน--บริการที่ได้รับ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อดูว่าประชาชนเข้ามีส่วนรวมในศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน "พิทักษา" หรือไม่และเข้าร่วมในลักษณะใด ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์เลี้ยงเด็กฯ นี้ เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการนำเอาแนวคิดเรื่องสาธารณสุขมูลฐาน และความจำเป็นพื้นฐานซึ่งเน้นหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาเป็นกลวิธีในการพัฒนา ตลอดจนศึกษาปัญหาอุปสรรคในการเข้ามีส่วนร่วมของชุมชนด้วย ผลการศึกษาพบว่าประชาชนในชุมชนวัดอมรทายิการามมิได้เข้ามีส่วนร่วมในศูนย์เลี้ยงเด็กฯ อย่างแท้จริง แต่เป็นการให้ความร่วมมือในสิ่งที่ผู้นำหรือครูพี่เลี้ยงขอมา เพราะการกำหนดปัญหาการวางแผนแก้ไข และ การดำเนินงานต่างๆ นั้น ครูพี่เลี้ยงเป็นผู้กำหนด ประชาชนมิมีอำนาจในการตัดสินใจ การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน จึงเป็นไปในรูปของการใช้ประโยชน์และการร่วมออกเงินเท่านั้น ส่วนการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขนั้น พบว่าทั้งชาวบ้าน และ ผู้นำ หรือ ครูพี่เลี้ยง มิได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนดังกล่าวเลย ไม่เพียงเฉพาะศูนย์เลี้ยงเด็กฯ นี้เท่านั้น กิจกรรมเพื่อการพัฒนาอื่นๆ ในชุมชน ประชาชนก็มิได้เข้ามีส่วนร่วมเช่นกัน การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนเป็นไปในลักษณะของการใช้ประโยชน์และให้ความร่วมมือตามที่ผู้นำหรือเจ้าหน้าที่รัฐขอมา ประชาชนมิมีอำนายในการตัดสินใจ แต่เป็นเรื่องของผู้นำหรือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กำหนด ตลอดจนวางแผนแก้ไข แต่การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขนั้นทั้งผู้นำและเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญในขั้นตอนทั้งสองเลย นอกจากนี้ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลอันได้แก่ เพศ การศึกษา อาชีพ รายได้ และ กรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมที่ต่างกัน นั่นคือเพศหญิงเข้ามีส่วนร่วมมากกว่าเพศชาย ผู้มีการศึกษาต่ำซึ่งมักมีอาชีพรับจ้างและรายได้น้อย จะเข้ามีส่วนร่วมมากกว่า ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ประกอบอาชีพอยู่ในชุมชน จึงมีโอกาสมีส่วนร่วมมากกว่า และผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยเข้ามีส่วนร่วมมากกว่าผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย เนื่องด้วยความรู้สึกไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยนั่นเอง การศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยภายในชุมชนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชน ผู้นำ การขาดอำนาจในการตัดสินใจของประชาชน วิถีทางเศรษฐกิจที่ยากจน ความรู้สึกผูกพันต่อชุมชน การดำเนินงานของกรรมการชุมชน ตลอดจนปัจจัยภายนอก อันได้แก่ การปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ ในชุมชน
Other Abstract: The purpose of the research is to study community participation in "Pitaksa" Pre-school Child-care Center which is operated based on the development concept of Primary health care and basic minimum needs. The outcome of the study indicated that the people in WatAmonayikaram community did not fully participate in this programme, but are likely to participate only when requested for assistance from the leaders or in form of money contribution. The leaders are likely to take a vital role in setting up plans and making decision. It was found from the study that none of the community members participated in the evaluation and improvement phases of the programme. Furthermore, it was found that in most of other activities initiated in the community, the members did not fully participate in the different phases of the programmes. Bottom-up planning and decision making were not evident. Activities carried out by community leaders or government officers include problem identification, management of local resources, and implementation of activities identified. But attention were not given to evaluation and improvement aspects of the programmes and/or projects. Factors causing differentiation in participation include sex, education occupation, income and ownership of land and house. Female participated more than male; community members with lower education and/or low-income participated more than those with higher position; and those with ownership of land and house participated more than the other group because of sense of belonging to the community. In addition, the study also showed that obstacles in the project implementation included internal community structure such as community history, leadership, authority in making decision.Poor economic condition, lack of sense of belonging and the administration of the community committee. External factors contributing to lack of people's participation included behavior and attitude of the government officers towards the programme.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47542
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.106
ISBN: 9745689742
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1988.106
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichulada_si_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Vichulada_si_ch1.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Vichulada_si_ch2.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Vichulada_si_ch3.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Vichulada_si_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Vichulada_si_back.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.