Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47692
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวไทย จีน และตะวันตกในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2398-2453
Other Titles: The relations between Thai, Chinese and Western communities in Bangkok 1855-1910
Authors: สาวิตรี ทัพภะสุต
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ชาวจีน -- ไทย
ชนกลุ่มน้อย
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ยุคหลัง, 2395-2475
ไทย -- ภาวะสังคม -- ประวัติ
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวไทย จีน และตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มชน 3 กลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 จนถึงสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2453 การศึกษาแบ่งออกเป็น 5 บท คือ บทที่ 1 ว่าด้วยการก่อตัวและการขยายตัวของชุมชน ตลอดจนบริเวณที่ตั้งของชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม บทที่ 2 กล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวกับโครงสร้างของสังคม ความสัมพันธ์ภายในชุมชน และวิธีการดำเนินชีวิตในชุมชนนั้นๆ บทที่ 3 เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างทั้ง 3 ชุมชน บทที่ 4 กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้ง และผลกระทบของปัญญาในระหว่าง 3 ชุมชนดังกล่าว บทที่ 5 เป็นการศึกษาถึงนโยบายของรัฐบาลไทยในการปกครองชุมชนชาวไทย จีนและตะวันตก ในกรุงเทพฯ และจบลงด้วยบทสรุป ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวไทย จีน และตะวันตกในกรุงเทพฯ นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ทางด้านสังคม ในด้านความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 พวก คือ 1. ความสัมพันธ์ในระหว่างฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจ ถึงแม้ว่าชนชั้นสูงของทั้ง 3 ชุมชนจะมีการเข้าหุ้นร่วมกันดำเนินกิจการก็ตาม แต่ส่วนมากแล้วความสัมพันธ์ในระหว่างผู้ประกอบธุรกิจจะเป็นบทบาทของชาวจีนและชาวตะวันตกมากกว่า ชาวไทยมิได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวเท่าใดนักเพราะไม่มีความชำนาญทางด้านนี้ ขณะเดียวกันผู้ดำเนินการทางธุรกิจก็มีความสัมพันธ์กับผู้ใช้แรงงาน คือ ชาวไทย และชาวจีน ด้วย 2. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภค ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้เห็นได้ชัดเจนในระหว่างชาวไทยและชาวจีนเป็นสำคัญ ชาวตะวันตกมิค่อยได้มาเกี่ยวข้องด้วยเท่าใดนัก เพราะการค้าของชาวตะวันตกเป็นการค้าขายส่ง หรือกิจการสั่งเข้าและส่งออกสินค้า สำหรับความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นประกอบด้วยความสัมพันธ์ใน 3 ลักษณะ คือ 1. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยทั่วไปแล้วชาวไทยและชาวจีนมีความผสมกลมกลืนกันทางวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีนดูจะเป็นฝ่ายที่กลายมาเป็นไทยมากกว่า อย่างไรก็ตามชนชั้นสูงของไทยและจีนนั้นมีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาด้วย เพราะต้องการแสดงว่าตนมีความเจริญเท่าเทียมกับอารยประเทศ ซึ่งจะมีผลในการติดต่อกับชาวตะวันตก ส่วนชาวตะวันตกนั้นไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายรับวัฒนธรรมไทยและจีน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากชาวตะวันตกถือว่าตนเป็นผู้มีวัฒนธรรมสูง จึงมิได้รับวัฒนธรรมจากผู้ที่ด้วยกว่า 2. ความสัมพันธ์ทางศาสนา ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ความสัมพันธ์ระหว่าชาวไทยและจีน เพราะมีความเชื่อพื้นฐานใกล้เคียงกันอยู่แล้ว รวมทั้งมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แล้ว ชาวจีนจำนวนหนึ่งมีความสัมพันธ์ทางศาสนากับชาวตะวันตกอีกด้วย คือ นับถือศาสนาคริสต์ ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน 3. ความสัมพันธ์ทางด้านบริการสาธารณประโยชน์ ในประเด็นนี้จะเห็นได้ถึงบทบาทของชาวตะวันตกมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ เพราะเป็นกิจการที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถในวิทยาการสมัยใหม่ ในขณะที่ชาวไทยและชาวจีนยังไม่มีความรู้ในด้านนี้อย่างเพียงพอ โดยมีทั้งกิจการที่ให้เปล่าและหวังผลกำไร นอกเหนือจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันแล้ว ทั้ง 3 ชุมชนนี้ยังได้มีปัญหาความขัดแย้งกันบางประการ แต่ไม่รุนแรงเท่าใดนัก และทางรัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวไทย จีน และตะวันตก ในกรุงเทพฯ ระหว่าง พ.ศ. 2398-2453 นี้เป็นไปในทางที่ดีมากกว่าการมีปัญหากระทบกระทั้งกัน ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยสำคัญหลายประการ ประการแรก คือบริเวณที่ตั้งชุมชนของทั้ง 3 กลุ่มชนนี้ ค่อนข้างมีการแบ่งแยกกัน มิได้ปะปนกันอยู่ทั่วพระนคร ซึ่งจะเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งกันได้ง่าย ประการที่ 2 แต่ละชุมชนนั้นไม่สามารถรวมตัวกันภายในชุมชนอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ บ้างก็มีข้อขัดแย้งภายในชุมชนของตน ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องแสวงหาความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น เพื่อผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับเป็นสำคัญ ประการที่ 3 คือ การดำเนินนโยบายของรัฐซึ่งพยายามปกครองทั้ง 3 ชุมชนนี้ให้อยู่รวมกันอย่างมีสันติสุข โดยมีนโยบายสำคัญ คือ การขจัดสาเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างแต่ละชุมชน รวมทั้งพยายามเอาใจจีนและชาวตะวันตก ซึ่งมีความสำคัญต่อการปรับปรุงประเทศในขณะนั้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ได้คอยควบคุมมิให้ชาวต่างชาติพวกหนึ่งพวกใดมีอิทธิพลมากเกินไป ซึ่งจะนำไปสู่ความกระทบกระทั่งระหว่างกันได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทย จีน และตะวันตกในกรุงเทพฯ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นไปในทางที่ดีมากกว่าจะมีปัญหาขัดแย้งกัน
Other Abstract: The aim of this thesis is to study the relationship among the three important communities in Bangkok, that is, the Thai, Chinese and Western communities as they developed since the signing of the Bowring Treaty with England (1855) until the end of the reign King Chulalongkorn (1910). The study is divided into 5 chapters: Chapter I- The settlement, expansion and location of the 3 communities; Chapter II – Details of each community concerning social structure, the relationship within the community and their way of life; Chapter III – The inter-relationship among the three communities; Chapter IV – The conflicts among the three communities and their effects; Chapter V – A study of the Thai government's policy towards the Thai Chinese and Western communities and Summary. The relationship among the Thai, Chinese and Western communities in Bangkok are both economic and social. Let us look at the economic situation among the 3 groups. 1. Relations among the business entrepreneurs. Although those at high social levels of the three communities joined together to form business partnerships, there were many more Chinese and Western entrepreneurs than Thais. Thai people did not take much part in all of this business activity due to lack of skill in this area. In addition, the entrepreneurs also had relations with Thai and Chinese laborers. 2. Relations between entrepreneurs and consumers. This was primarily a relationship between Chinese and Thai people. The Westerners were not much concerned with the local market since their trade was either wholesale or import-export. As for social relations, they were of 3 types: 1. Cultural relations. In general, there was a great deal of cultural assimilation between Thai and Chinese. The Chinese people tended to prefer being considered as Thai. However those, at high social levels in both the Thai and Chinese communities also accepted western culture to show that they were a modern and civilized people. This helped in their contacts with Westerners. As for the Westerners, They did not absorb Thai or Chinese culture since they regarded their own as superior and did not accept those regarded as inferior. 2. Religious relations. This can be clearly seen between Thai and Chinese peoples since they have similar backgrounds and close cultural relations in many respects. Moreover, a group of Chinese were influenced y Western missionaries and later converted to Christianity. This relationship was mutually beneficial. 3. Public welfare relations. Westerners had a greater influence on public welfare relations than did the Thai or Chinese due to their technical expertise. Important public welfare projects initiated by the Westerners were both profit and non-profit activities. Despite a good business relationships, there were some conflicts among these three communities. But the conflicts were not so serious and the government could easily control the situation. Thus, we can say that the relationship among the Thai, Chinese and Western communities in Bangkok during 1855 – 1910 was favorable. Thai was due to many factors. Firstly, the locations of the three communities were separated. These peoples did not mix throughout the city which might easily have caused conflicts. Secondly, each community had it's own problems. Some had conflicts among themselves. Meanwhile, each community was not self-sufficient which necessitated relationships with others. Thirdly, the government policy towards these three communities was aimed at making them live together peacefully. The main policy was to get rid of the conflicts among the three groups and please the Chinese as well as the Westerners, both of which had important roles to play in the country's development during that period. However, the government had to prevent any one group from having too much power which might eventually lead to conflicts. Thus, the Thai, Chinese and Westerners living in Bangkok had good relations during that period.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47692
ISSN: 9745634328
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawitree_da_front.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Sawitree_da_ch1.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open
Sawitree_da_ch2.pdf8.77 MBAdobe PDFView/Open
Sawitree_da_ch3.pdf7.5 MBAdobe PDFView/Open
Sawitree_da_ch4.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open
Sawitree_da_ch5.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open
Sawitree_da_back.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.