Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47729
Title: | การศึกษาโดยการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ของอ่างเก็บน้ำสิรินธร |
Other Titles: | A simulation study of Sirindhorn reservoir |
Authors: | สุวิทย์ ธโนภานุวัฒน์ |
Advisors: | ชัยพันธุ์ รักวิจัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การพัฒนาแหล่งน้ำ แบบจำลองทางชลศาสตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในการใช้เทคนิคการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการพัฒนาแหล่งน้ำและการประยุกต์เทคนิคการทำแบบจำลองไปใช้กับการศึกษาในสภาพแหล่งน้ำที่เป็นจริง ของโครงการอ่างเก็บน้ำสิริธร จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับกรณีการดำเนินการอ่างเก็บน้ำ และการจัดสรรน้ำ ซึ่งโครงการนี้มีลักษณะของการใช้น้ำที่ขัดแย้งกัน ระหว่างการผลิตไฟฟ้าและการชลประทาน จากการศึกษาเทคนิคการีจำลองทางคณิตศาสตร์ แบบจำลองสภาพระบบอ่างเก็บน้ำสิรินธรได้ถูกสร้างขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบด้วยกันได้แก่ ชุดโปรแกรมคำนวณปริมาณน้ำฝน แบบจำลองความต้องการน้ำชลประทาน และแบบจำลองการดำเนินการของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งถูกสร้างตามหลักการของอุทกวิทยาดำเนินการ แบบจำลองความต้องการชลประทานได้ถูกใช้ในการจำลองสภาพโครงการชลประทานโดมน้อยทั้งหมด 16 กรณี ด้วยกัน โดยการเปลี่ยนแปลงตัวแปรและตัวกำหนดลักษณะของโครงการสำหรับชุดข้อมูลน้ำฝนรายเดือนระหว่างปี 2495- 2521 แบบจำลองการดำเนินการของอ่างเก็บน้ำ ได้ถูกใช้ในการจำลองสภาพการดำเนินการของอ่างเก็บน้ำสิรินธร ทั้งหมด 22 กรณี โดยการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต่าง ๆ อันประกอบด้วยปริมาณความต้องการน้ำชลประทาน กำลังผลิตไฟฟ้าของเขื่อน และนโยบายการดำเนินการของอ่างเก็บน้ำเป็นต้น โดยใช้ชุดข้อมูลอุทกวิทยา ระหว่างปี 2498 – 2521 ผลของการนำเทคนิคการจำลองทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการศึกษาพบว่ามีความเหมาะสมสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินการของระบบแหล่งน้ำอย่างยิ่ง และการศึกษาการจำลองสภาพการดำเนินการของอ่านเก็บน้ำสิริธรในการศึกษานี้ บ่งว่าอ่างเก็บน้ำสิริธรมีขีดความสามารถ ในการจัดสรรน้ำเพื่อวัตถุประสงค์การผลิตไฟฟ้า และการชลประทานค่อนข้างจำกัด เมื่อการพัฒนาความต้องการน้ำในวัตถุประสงค์ทั้งสองสมบูรณ์เต็มตามโครงการ ดังนั้น การศึกษาแนวทางการกำหนดนโยบายการดำเนินอ่างเก็บน้ำและการจัดสรรน้ำของโครงการที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรได้มีการดำเนินการศึกษาต่อไป |
Other Abstract: | This study concerns the simulation technique approach in water resources development. An application of the technique had been conducted with the real system of the Sirindhorn Multi-purpose Reservoir at Ubolratchathani Province for the purpose of reservoir operation and water allocation study. There are conflicts among the uses of water for power production and irrigation. A simulation model were made in the form of FORTRAN computer program to represent the operation of Sirindhorn Reservoir. The model comprises of three model components, namely Rainfall Statistical Program Package, Irrigation Demand Model, and Reservoir Operations Model. They were constructed according to the operational hydrology. The Irrigation Demand Model, representing the Dom-Noi Irrigation Project, was used to estimate the irrigation demands under 16 conditions of varying parameters and characteristics of the project. The rainfall data during 1952-1978 were employed for this study. The Reservoir Operations Model, representing the physical characteristics and the operation of Sirindhorn Reservoir, was run for 22 conditions of several parameters. These parameters were irrigation demands, power production capacities, operating policies and etc. The hydrological data were employed for the period of 1955-1978. The study results reveal that simulation technique is a proper way to analyse the management problem of water resource system With this simulation study of the operation of Sirindhorn Reservoir, it is found that the reservoir has a rather limited capacity for both power production and irrigation when the project is fully developed. Hence, some further studies are needed and recommended to develop a proper guideline for operating policies and water allocation of the sirindhorn Reservoir. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47729 |
ISBN: | 9745623679 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwit_th_front.pdf | 19.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch1.pdf | 10.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch2.pdf | 15.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch3.pdf | 65.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch4.pdf | 32.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch5.pdf | 27.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch6.pdf | 16.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch7.pdf | 25.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_ch8.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwit_th_back.pdf | 75.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.