Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47895
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยวุฒิ ชัยพันธุ์-
dc.contributor.authorสมชาย เอกสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-05T15:17:26Z-
dc.date.available2016-06-05T15:17:26Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745786233-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47895-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนานั้น มีจุดมุ่งหมายที่ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถส่งสินค้าออกแข่งขันกับสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา และขณะเดียวกันก็ช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนาด้วย จากผลประโยชน์ที่คาดว่าประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับจากระบบสิทธิพิเศษฯ ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วที่ให้สิทธิพิเศษฯ บางประเทศโน้มเอียงที่จะทำการต่อรองทางการค้าให้ลักษณะพหุภาคีเพื่อให้ประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องต่างๆ มิฉะนั้นจะทำการระงับการได้รับสิทธิพิเศษฯ ของประเทศที่จะได้รับจากประเทศพัฒนาแล้วนั้นๆ กลุ่มประเทศอาเซียนเป็นประเทศกำลังพัฒนากลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายพหุภาคีของประเทศที่พัฒนาแล้ว อันเป็นผลจากระดับการพัฒนาประเทศที่อยู่ในระดับสูงและความสามารถในการส่งออกที่สูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวัดผลประโยชน์ที่กลุ่มประเทศอาเซียนได้รับจากระบบสิทธิพิเศษฯว่ามีมากน้อยเพียงไร เพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินนโยบายทางการค้าของรัฐ ภายใต้แรงกดดันจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่ให้สิทธิพิเศษฯ แก่กลุ่มประเทศอาเซียนที่ต้องการให้ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทำการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากประเทศเหล่านั้น ผลจากการวิเคราะห์ที่ได้ ชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่กลุ่มประเทศอาเซียนได้รับมีค่าอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ตลาดการนำเข้าที่สำคัญประกอบด้วย กลุ่มประชาคมยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน ควรที่จะดำเนินนโยบายในการใช้ประโยชน์จากระบบสิทธิพิเศษฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทและชนิดของสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ แก่ผู้ผลิตของตน รวมทั้งทำการปรับปรุงขบวนการผลิตของตนให้สอดคล้องกับเงื่อนไขในการได้รับสิทธิพิเศษฯ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตอบโต้ทางการค้าจากปัญหา Anti-Dumping และ Anti-Subsidy และในขณะเดียวกันก็ช่วยให้อุตสาหกรรมภายในของตนมีความเข็มแข็งด้วย เนื่องจากปัญหาการค้าในลักษณะ Intra. Trade. ของสินค้าอุตสาหกรรมระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง ซึ่งเมื่อส่งสินค้าไปยังประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษฯ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข Rule of Origin ของระบบสิทธิพิเศษฯen_US
dc.description.abstractalternativeThe generalized system of preferences was designed to give developing countries more favourable access to the markets of developed countries and to increase their export earning. In the meantime, it will help the developing countries to promote their economic development and industrialization. After the GSP was set up, it became a useful instrument for the beneficiary countries : the preference margin was substantial and represented a real advantage over the tariff treatment which industrialized countries granted each other. So when preference giving countries face the economic slump, they tend to undertake the bilateral trade negotiation with those beneficiary countries. ASEAN are one group of developing countries that receive generalized preferences and also affected by the bilateral negotiation. They require the ASEAN member countries to open markets for they their exports and to protect their intellectual property; otherwise and unilateral retaliatory action is to be taken. The objective of the study is to measure the benefit of the GSP to the ASEAN in the principal import market EEC, Japan and USA, so as to assess the effect of the ASEAN member countries policies under the pressure of principal trade partners on their exports. The result of the analysis indicate the effect of the GSP on ASEAN. Exports at high level in every import markets. This means that if the ASEAN exports are suspended the GSP in these import markets, the damages will be at high level resulting from trade contraction. To maximize the benefits of the GSP, the ASEAN countries have to improve their GSP administration and the production process to correspond with the regulation of the GSP. This improvement will bring not only more benefits from GSP but also the solution of intra-industrial trade problem to ASEAN countries.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพิกัดอัตราศุลกากรen_US
dc.titleการวิเคราะห์ผลกระทบของระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ที่มีต่อการส่งออกของกลุ่มอาเชียนen_US
dc.title.alternativeAnalysis of the effects of generalized system of preferences (GSP) on ASEAN's exportsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_ek_front.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ek_ch1.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ek_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ek_ch3.pdf57.32 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ek_ch4.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_ek_ch5.pdf496.3 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_ek_back.pdf51.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.