Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47938
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
Other Titles: Opinions concerning Thai art conservation of undergaute strdents,faculty of fine arts, rajamangala institute of technology
Authors: วรรณี มณฑารักษ์
Advisors: สัญญา วงศ์อร่าม
สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล -- นักศึกษา
ศิลปกรรมไทย -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา
โบราณวัตถุ -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา
โบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา คณะศิลปกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทยในด้านบทบาทของประชาชนกับการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย ด้านรูปแบบและวิธีการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย และด้านการส่งเสริมและเผยแพร่การอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาคณะศิลปกรรม ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาศิลปกรรม ภาควิชาศิลปะประจำชาติ ภาควิชาออกแบบศิลปประยุกต์ และภาควิชาหัตถกรรม โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประเมินค่า แบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับบทบาทของประชาชนกับการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย ไม่แน่ใจกับด้านรูปแบบ และวิธีการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย และเห็นด้วยกับการส่งเสริมและเผยแพร่การอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับปัญหาต่างๆ ดังนี้ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย ขาดงบประมาณในการดูแลรักษาศิลปกรรมไทย อีกทั้งกฎหมาย พระราชบัญญัติโบราณสถาน ศิลปโบราณวัตถุ ยังไม่รัดกุมเพียงพอ เพื่อเป็นการส่งเสริมในการดำเนินการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรจัดให้มีการอบรมครู-อาจารย์และนักศึกษาศิลปะ ในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทยให้มากขึ้น
Other Abstract: The purpose of this research was to survey the opinions towards Thai art conservation of undergraduate students, Faculty of Fine Arts, Rajmangala Institute of Technology in the aspects of the role of Thai people in Thai art conservation, the procedures and method, and the promotion and dissemination of Thai art conservation. The sample of this research was 258 undergraduate students majoring in Fine Arts randomly selected from the Department of Fine Arts, Traditional Arts, Applied Arts Design, and Arts and Crafts. The research instrument was constructed by the researcher in the form of questionnaire consisting of check list, rating scale and open-ended items. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic means and standard deviation. The research finding revealed that the students agreed with the role of people in Thai art conservation, the students were uncertain with the procedures and method in Thai art conservation and the students agreed with the promotion and dissemination of Thai art conservation. The majority of the students unanimously agreed with particular problems: people’s lack of knowledge and understanding in Thai art conservation, [devolving] in Thai art conservation, lack of budget, lack of efficient law to protect the history monument and art objects. In service training courses in Thai art conservation for teachers and students showed increasingly be organized.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47938
ISBN: 9745791695
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vonnee_mo_front.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Vonnee_mo_ch1.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Vonnee_mo_ch2.pdf14.56 MBAdobe PDFView/Open
Vonnee_mo_ch3.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Vonnee_mo_ch4.pdf10.62 MBAdobe PDFView/Open
Vonnee_mo_ch5.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Vonnee_mo_back.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.