Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48444
Title: การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ของแผนงานขยายงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2520-2532
Other Titles: Cost-benefit analysis of Ministry of Public Health's expanded Programme on Immunization in Thailand, 1977-1989
Authors: สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล
Advisors: วัฒนา สุวรรณแสง จั่นเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: วัคซีน -- แง่เศรษฐกิจ
โรค -- การป้องกันและควบคุม
เด็ก -- โรค
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ทางด้านต้นทุนและผลได้ของแผนงานขยายงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (EPI) ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2532 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์นี้คิดเฉพาะวัคซีน DTP, OPV, MEASLES, BCG และ T ในหญิงมีครรภ์ ซึ่งครอบคลุมโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนรวม 7 โรค คือ คอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน, โปลิโอ, ทัด, วัณโรค, และบาดทะยักในเด็กแรกเกิด ต้นทุนคิดเฉพาะค่าใช้จ่ายของกระทรวงสาธารณสุขโดยประมาณการจาก หมวดงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง มูลค่าวัคซีนที่ใช้ และการสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศส่วนผลได้นั้นคิดเฉพาะผลได้ทางตรงของกระทรวงสาธารณสุขเป็นมูลค่าค่ารักษาพยาบาลที่ประหยัดได้จากจำนวนป่วยที่ป้องกันได้ และผลได้ทางอ้อมของสังคมเป็นมูลค่ารายได้ที่พึงได้รับรับในอนาคตจากจำนวนตายที่ป้องกันได้ จำนวนป่วยที่ป้องกันได้ประมาณการจากผลต่างของจำนวนป่วยในเงื่อนไขที่มีและไม่มีแผนงาน EPI ที่ประมาณการจากแบบจำลองเศรษฐมิติ ชนิดอนุกรมเวลาที่ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีความเหมาะสมจำนวนตายที่ป้องกันได้ประมาณการจากจำนวนป่วยที่ป้องกันได้โดยใช้อัตราป่วยตายเฉลี่ยของแต่ละโรค จากการศึกษาพบว่า วัคซีนที่มีอัตราส่วนผลได้/ต้นทุน มากที่สุด คือวัคซีน MEASLES เท่ากับ 55.30 รองลงมาคือ วัคซีน OPV, DTP, และ T ในหญิงมีครรภ์ เท่ากับ 4.58, 2.62, และ 2.56 ตามลำดับ ส่วนวัคซีน BCG ไม่สามารถคำนวณอัตราส่วนได้/ต้นทุน ได้เนื่องจากผลได้จากการฉีกวัคซีนยังไม่ชัดเจน อัตราส่วนผลได้/ต้นทุน สรุปเป็นภาพรวมของทั้งแผนงานมีค่าเท่ากับ 3.96
Other Abstract: The objective of this study is to analyse the costs and benefits of the Expanded Programme on Immunization under the Ministry of Public Health in Thailand from 1977 to 1989. The target vaccines are DTP, OPV, MEASLES, BCG, and T (pregnant woman) which prevent Diphtheria, Tetanus, Pertussis, Measles, Tuberculosis and Tetanus Neonatorum, respectively. The costs are calculated from the related budgets, cost of vaccines, and international supports. The direct benefits estimated here are confined only to those accrued to the Ministry of Public Health, in terms of savings in treatment costs of cases prevented. The social indirect benefits are calculated on the expected life earnings of deaths prevented. Cases prevented are estimated from a suitable econometric model in two conditions : with, and without EPI. Deaths prevented are estimated from the number of cases prevented and the average case fatality rate. This study shows that Measles vaccine has the highest benefit/cost ratio which is 55.30. The benefit/cost ratios of OPV, DTP, and T (pregnant woman) are 4.58, 2.62, and 2.56, respectively. The benefit/cost ratio of BCG vaccine cannot be obtained due to its vague benefit. The overall benefit/cost ratio of EPI programme is 3.96.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48444
ISBN: 9745814245
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathitpong_th_front.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch1.pdf556.34 kBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch2.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch3.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch4.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch5.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch6.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch7.pdf990.7 kBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_ch8.pdf867.44 kBAdobe PDFView/Open
Sathitpong_th_back.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.