Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลินี วงษ์สิทธิ์-
dc.contributor.authorสุมาลย์ โทมัส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T04:18:41Z-
dc.date.available2016-06-10T04:18:41Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745690384-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48667-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารวิชาการเกี่ยวกับผ้สูงอายุในประเทศไทยซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึงปี พ.ศ. 2529 จำนวน 223 ชิ้น โดยมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการของความรู้ และวิธีการเสนอสาระเกี่ยวกับผู้สูงอายุในประเทศไทย ศึกษาความตั้งใจและลักษณะอื่นๆ ของผู้สื่อสาร ความคิด ความสนใจ และคุณค่า ซึ่งเป็นสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ผลิตเอกสาร ที่สะท้อนจากเอกสารที่ศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารที่เป็นตัวอย่าง จำนวน 223 ชิ้น แล้วแยกตามประเด็นที่ศึกษา ซึ่งผู้วิจัยกำหนดไว้ 5 ประเด็น คือ ประเภทเอกสาร ประเภทผู้จัดพิมพ์ อาชีพของผู้เขียน ปีที่จัดพิมพ์ และลักษณะของเนื้อหา โดยแบ่งเนื้อหาอกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคมของผุ้สูงอายุ ด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ ด้านอนามัยของผู้สูงอายุ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและเสนอผลในรูปตารางร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. ในด้านพัฒนาการของความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่ามีการศึกษาเรื่องอนามัยของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึงปี พ.ศ.2529 อย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณเอกสารที่ศึกษาในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น ในช่วงปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2529 ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2510 ไม่พบการศึกษาในเรื่องเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ และพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ถึงปี พ.ศ. 2529 มีการศึกษาในเรื่องผ้สูงอายุครบทุกด้านที่ศึกษา 2. .ในด้านวิธีการเสนอสาระเกี่ยวกับผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่ามีความนิยมนำเสนอในรูปบทความมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากงานวิจัยทางการแพทย์นั้น นิยมนำเสนอในรูปของบทความ และลักษณะเนื้อหาที่ปรากฏมากที่สุด ในเอกสารประเภทบทความ ก็เป็นเนื้อหาทางด้านอนามัยของผู้สูงอายุ ที่เขียนโดยผู้ที่มีอาชีพทางด้านนี้ 3. ในด้านความตั้งใจ และลักษณะอื่นๆ ของผู้สื่อสารนั้น พบว่าผู้ผลิตเอกสารที่เป็นเอกชนและรัฐบาล ผลิตเอกสารออกมาพอๆ กัน และผู้ผลิตเอกสารทั้งสองกลุ่ม ก็ผลิตเอกสารที่มีเนื้อหาทางด้านอนามัยของผู้สูงอายุมากที่สุด ส่วนในด้านอาชีพของผู้เขียนนั้นพบว่า เมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ มีผู้เขียนอาชีพแพทย์มากที่สุด และผู้เขียนที่เป็นแพทย์ก็ผลิตเอกสารที่มีเนื้อหาทางด้านอนามัยของผู้สูงอายุมากที่สุด 4. ในด้านความคิด ความสนใจ และคุณค่าซึ่งเป็นสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ผลิตที่สะท้อนจากเอกสารที่ศึกษา พบว่า ในการศึกษาเรื่องผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น เรื่องอนามัยของผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจศึกษามากที่สุด รองลงไปก็ได้แก่ เรื่องสิ่งแวดล้อมทางสังคม เรื่องเศรษฐกิจ และเรื่องความช่วยเหลือที่ให้แก่ผู้สูงอายุได้รับความสนใจน้อยที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThis research work is an analysis of 223 academic documents on senior citizens in Thailand which were published between 1950 and 1986. The aim is to study the progress of knowledge and its presentation concerning senior citizens in Thailand, the purpose and other aspects of the presenters such as ideas, interests and values which belong to the social condition and culture of the document-producers as reflected in the documents. Research methodology : analyze 223 sampling documents by studying the following 5 aspects ; type of document, type of publisher, writer’s divided into 5 categories ; social environment of senior citizens, economic condition, health and miscellaneous subjects concerning senior citizens. The researcher studies each document individually, complies the frequencies of each aspect and calculates the percentage. Research conclusion : 1. Progress of knowledge on senior citizens in Thailand : There have been studies on senior citizens’ health continually from 1950 to 1986. The number of documents on this subject increases especially between 1971 and 1986. Before 1967, there was no study on economic aspect of senior citizens, but form 1967 to 1986 there are documents covering all aspects. 2. Presentation of knowledge on senior citizens in Thailand : Presentation in form of articles receives highest preference because medical researches are usually presented in form of articles; the subject of health is most frequent and it is written by those in medical profession. 3. Purpose and other aspects : The producers of documents come equally from private and government sectors. They produce approximately equal numbers of documents and the subject of health of senior citizens is the most frequent. As for their profession, the greatest number belongs to the medical profession. Writers who are medical doctors produce most articles on senior citizens health. 4. Ideas, interests and values which belong to social condition and culture of the document-producers as reflected in the documents : In the study of senior citizens in Thailand, the health of senior citizens is the subject which receives the greatest interest, followed by social environment, economic conditions, and the help given to senior citizens receives the least attention.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวิเคราะห์เนื้อหาen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- วิจัย -- ไทยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- วารสารen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- เอกสารวิชาการen_US
dc.titleการศึกษาเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ เกี่ยวกับผู้สูงอายุในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe content analysis of literatures on aging in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalaya_th_front.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Sumalaya_th_ch1.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Sumalaya_th_ch2.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open
Sumalaya_th_ch3.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Sumalaya_th_ch4.pdf6.98 MBAdobe PDFView/Open
Sumalaya_th_ch5.pdf683.06 kBAdobe PDFView/Open
Sumalaya_th_back.pdf8.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.