Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48678
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorตีรณ พงศ์มฆพัฒน์-
dc.contributor.authorวิชัย ศรีศักดิ์สุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T04:29:58Z-
dc.date.available2016-06-10T04:29:58Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.isbn9745829587-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48678-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสมเหตุสมผลหรือทดสอบแบบเป็นเหตุผลระหว่างการส่งออกและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย โดยใช้เทคนิคเชิงเศรษฐกิจมิติตามคำจำกัดความของ Granger การทดสอบแยกเป็น 2 ส่วนคือส่วนแรกเป็นการทดสอบหาความสัมพันธ์ระดับมหภาคโดยทำการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างการขยายการส่งออก และการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ส่วนที่สองเป็นการทดสอบความสัมพันธ์ในระดับรายสินค้าหรือรายสาขาที่สำคัญของไทยที่สามารถหาข้อมูลได้ โดยทำการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณส่งออกและอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตของสินค้าชนิดนั้นๆ แบบจำลองที่นำมาใช้ในการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองนี้เป็นแบบจำลองที่เรียกว่า Vector Autoregression Model (VAR) การทดสอบสมมติฐานหลักโดยทั่วๆ ไปแล้วใช้การทดสอบร่วมเพื่อตรวจสอบชุดของค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอธิบาย ผลจากการศึกษาพบว่าในระดับมหภาค การขยายการส่งออกเป็นสาเหตุให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนผลการศึกษาในระดับรายสาขาพบว่า (ก) ในหมวดสินค้าเกษตรกรรม สินค้าที่การขยายการส่งออกเป็นสาเหตุเกิดการเพิ่มปริมาณการผลิต ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด สินค้าที่การเพิ่มปริมาณการผลิตเป็นสาเหตุให้เกิดการขยายการส่งออก ได้แก่ ข้าว (ข) ในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร สินค้าที่การขยายการส่งออกเป็นสาเหตุให้เกิดการเพิ่มปริมาณการผลิต ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง สินค้าที่การเพิ่มปริมาณการผลิตเป็นสาเหตุให้เกิดการขยายการส่งออกได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปอ น้ำตาล และกากน้ำตาล และ (ค) ในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมพบว่า สินค้าที่การขยายการส่งออกเป็นสาเหตุให้เกิดการเพิ่มปริมาณการผลิตได้แก่ ดอกไม้ประดิษฐ์ สินค้าที่การเพิ่มปริมาณการผลิตเป็นสาเหตุให้เกิดการขยายการส่งออกได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าที่มีลักษณะความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ได้แก่ ผ้าใยประดิษฐ์ทอและผ้าฝ้ายทอ ด้วยเหตุนี้เราจึงอาจกล่าวสรุปได้ว่า ในกรณีประเทศไทยการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจส่วนรวมเกิดจากการชักนำของการขยายตัวของภาคส่งออกเป็นสำคัญ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด การขยายตัวของภาคส่งออกมิได้มีบทบาทนำในสาขาการผลิตสำคัญๆ ทุกรายการ ผลการทดสอบให้ข้อสรุปที่ค่อนข้างผสมผสานกันระหว่างบทบาทนำของการส่งออกและบทบาทนำของการขยายตัวของผลผลิตen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of the study is to test causal relationship between exports and economic growth using an econometric technique and in the sense of Granger. The causality tests involve two parts : aggregate and disaggrate levels. The former concerns causality between growth in export earning and gross domestic products. The later relates to some important commodities whose data are available. Percentage changes in exports and production of those particular commodities are obtained for causality testing. The models used are those in the class of Vector Autoregression model (VAR). Generally, we perform joint tests to statistically sets of parameters for explanatory variables considered. At the macro level export-led growth was found, whereas at the commodity level, we found that (a) for agricultural products, the commodities found to have the export-led growth relationship include rubber tapioca and maize, but the growth-led export relationship applied to the case of paddy ; (b) for agro-industrial products, canned pineapple was found to follow export-led growth, whereas jute products, sugar and molasses were found to follow growth-led exports ; and (c) for industrial products artificial flower had export-led growth relationship, garment had growth-led export relationship, and man-made fabrics and cotton fabrics ha bidirectional relationship. As a result, it may be conclude that in the case of Thailand, overall economic growth was Granger-caused by exports, whereas in detailed such a conclusion should not apply to particular products. In fact, we have mixed results concerning the leading of exports and production.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมการส่งออกen_US
dc.titleการส่งออก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผล : ศึกษากรณีประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeExports, economic growth and causality : a case study of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichai_sri_front.pdf802.86 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_sri_ch1.pdf682.85 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_sri_ch2.pdf869.18 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_sri_ch3.pdf906.73 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_sri_ch4.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_sri_ch5.pdf423.05 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_sri_back.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.