Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48748
Title: การศึกษาการสกัดและการทำแห้งสติวีโอไซด์จากหญ้าหวาน (Stevia rebaudiana bertoni)
Other Titles: A study on extraction and drying of stevioside from stevia (Stevia rebaudiana bertoni)
Authors: สถาพร ชุติมาสกุล
Advisors: สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: หญ้าหวาน
สตีวิโอไซด์
การสกัด (เคมี)
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หญ้าหวานเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดแถบอเมริกาใต้ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือสตีวีโอไซด์สารนี้มีความหวานประมาณ 150 ถึง 300 เท่า เมื่อเทียบกับน้ำตาลซูโครส ใบหญ้าหวานจะมีปริมาณสตีวีโอไซด์ประมาณร้อยละ 13.4 การทดลองนี้จึงได้พยายามสกัดสารนี้จากใบหญ้าหวานแห้งด้วยสารตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ ไดอ๊อกเซน และน้ำ กระบวนการสกัดด้วยไดอ๊อกเซน เริ่มโดยนำใบหญ้าหวานมาบดให้ละเอียดก่อนจึงทำการแยกสารจำพวก non polar ด้วยคลอโรฟอร์ม ในเครื่องสกัดช๊อดเล็ตประมาณ 20 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำมาสกัดต่อด้วยไดอ๊อกเซนประมาณ 5 ชั่วโมง แยกสารละลายไดอ๊อกเซนมาเติมเมธานอล เกิดผลึกสตีวีโอไซด์ทันที ผลึกมีสีขาวนวล อบให้ความชื้น เหลือร้อยละ 9.44 จะมีเสถียรภาพมากกระบวนการนี้สามารถสกัดสตีวีโอไซด์ได้ร้อยละ 6.79 โดยน้ำหนักจากใบหญ้าแห้ง กระบวนการสกัด ด้วยน้ำเป็นตัวทำละลาย ได้ศึกษาสภาวะการสกัดได้แก่ อัตราส่วนหญ้าหวานต่อน้ำ, อุณหภูมิและเวลาในการสกัด จากผลการทดลองสภาวะที่เหมาะสมจะได้ดังนี้ –อัตราส่วนหญ้าหวานต่อน้ำ เท่ากับ 1:8 โดยน้ำหนัก – อุณหภูมิของผสมในสารละลาย 50 องศาเซลเซียส – เวลาในการสกัด 4 ชั่วโมง ขั้นตอนดังกล่าวนี้สามารถแยกสกัดสารสตีวิโอไซด์ได้ถึงร้อยละ 83 โดยน้ำหนักของสารที่มีอยู่ในใบหญ้าหวานแยกสารละลายแล้วนำมาทำให้ใสด้วยการตกตะกอน ในรูปของแคลเซียมฟอสเฟตที่ pH 6.8 ใช้สารช่วยตกตะกอนปริมาณ 7 ส่วนในล้านส่วน สารละลายยังมีสีอยู่ จึงนำมาฟอกสีด้วยการเติมแคทไอออนิกฟลอคคิวแลนท์ที่ความเข้มข้น 2912 ส่วนในล้านส่วน จากนั้นนำไปผ่านเรซินชนิดแอนไอออน ค่า Absorbance ของสารละลายลดลงร้อยละ 92.5 ทำสารละลายให้เข้มข้นขึ้น เพื่อฉีดพ่นในเครื่องอบแห้งแบบหัวฉีดกระจาย มีอุณหภูมิภายในเครื่อง 170 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิของอากาศทางออก 115 องศาเซลเซียส ได้ผงสตีวีโอไซด์สีเหลือง ความชื้นร้อยละ 19.27 โดยน้ำหนัก กระบวนการนี้สามารถสกัดสารสตีวีโอไซด์ได้ร้อยละ 6.9 เทียบจากน้ำหนักหญ้าหวานแห้ง
Other Abstract: The original of stevia is in South America. Stevia leaves are rich of stevioside compound, which is a sweetener having power 150 to 300 times higher than sucrose. The stevia have quantity of stevioside about 13.4 percent. In this experiment, dioxane and water were the solvents used in extracting stevioside from dry leaves. Duging the extraction process by dioxane, the stevia leaves was firstly grinded, and then put them in soxhlet extractor. The non polar constituents removed stevia powder by chloroform in 20 hours later, the stevioside was extracte with dioxane in the same equipment for 5 hours. The methanol was added into the dioxane solution, white crystals of stevioside were immediately formed. They were dried until their moisture became 9.44 percent. We obtained 6.79 percent of stevioside by weight from dry stevia leaves with the mentioned process. The extraction process with water was run under the following conditions : - optimum ratio between ground dried leaves and water was 1:8 by wei – the temperature of the mixture in solution was 50℃ - the extraction time was 4 hours, In this step, stevioside was extracted from the leaves approximately 83 percent by weight. The separated solution was then clearified by forming calcium phosphate at pH 6.8 and added flocculant about 7 ppm. After decolorized with cationic flocculant (concentration about 2912 ppm), the solution had still a trace color. It was then passed through an anion resin column. With this technic, the absorbance of the solution diminished from the origin about 92.5%. The concentrated solution was dried with spray dryer at inlet temperature 170℃ and outlet temperature 115℃. Yellow-white powder of stevioside was recovered from the device with moisture content 19.3% by weight. This system, we could extract the product only 6.9 % from dry stevia leaves.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48748
ISBN: 9745662992
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Staporn_ch_front.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch1.pdf399.21 kBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch2.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch3.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch5.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch6.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch7.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch8.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_ch9.pdf900.84 kBAdobe PDFView/Open
Staporn_ch_back.pdf9.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.