Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49186
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการรูปแบบการแก้ปัญหาทีโอทีอาร์ร่วมกับหลักการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการตนเองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Other Titles: The development of instructional process in social studies by integrating the other 3r’s problem solvingmodeland learning management principlestoenhance self-management competencyof students in vocational certificate programs
Authors: เกศินี ครุณาสวัสดิ์
Advisors: วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
สังคมศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การแก้ปัญหา
Social sciences -- Study and teaching
Social sciences -- Activity programs in education
Problem solving
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา โดยบูรณาการรูปแบบการแก้ปัญหาทีโอทีอาร์ร่วมกับหลักการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการตนเองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและ 2) ศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3สาขาเครื่องกล โรงเรียนเตรียมวิศวกรรม ไทย-เยอรมันในรายวิชาสังคมศึกษา ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 32 คนและใช้เวลาในการทดลองวันละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 16 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 32 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการจัดการตนเองแบบประเมินตนเองแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการจัดการตนเอง แบบรายงานตนเอง แบบสังเกตความสามารถในการจัดการตนเอง แบบประเมินความสามารถในการจัดการตนเอง และแบบรายงานการปฏิบัติงานกลุ่มในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าคะแนนร้อยละ ค่ามัชณิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1.กระบวนการเรียนการสอนดังกล่าว ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 6 ขั้น ได้แก่ 1) การสร้างแรงจูงใจ 2) การกำหนดประเด็นในการศึกษา 3) การวางแผนในการดำเนินงาน 4) การปฏิบัติและติดตามผลการดำเนินงาน 5) การอภิปรายและแลกเปลี่ยนการดำเนินงานกับกลุ่มอื่น และ 6) การสะท้อนกลับและการประยุกต์ 2.คุณภาพของกระบวนการเรียนการสอน พิจารณาจากผลการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างคือ 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการจัดการตนเองในด้านความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2)ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการจัดการตนเองในด้านการปฏิบัติหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This was research and development study. The purposes of this study were: 1) to develop the instructional process by integrating the Other 3R’s problem solving model and learning management principles to enhance self - management competency of the vocational certificate students, and 2) to verify the quality of this instructional process which was developed. The sample consisted of 32 Mechanical students in social studies class, randomly selected from the third year of Vocational Certificate Programs, Pre-Engineering Thai-German School. The total sessions of the experiment were 32 hours, 2 hours a day for 16 weeks long. Self-management Competency Assessment, Self-assessment Inventory, Interview Form, Self-report Form, Self-management Competency Observation Form, Self-management Competency Evaluation Form and Group Performance Report Form in each learning unit were utilized as instruments for collecting data. Percentage, mean, standard deviation and t-test were used as data analysis. The findings were as follows: 1. The instructional process included 6 steps :- 1) motivation development; 2) specification of issues; 3) planning for study; 4) performing and follow up; 5) discussion and exchanging ideas with other groups and 6) feedback and application. 2. The quality of the developed instructional process was verified by the experimental results of the implementation :- 1) mean scores of post-test self-management competency in terms of concept were higher than mean scores of pre-test at .05 level of significance.; 2) mean scores of post-test self-management competency in terms of implementation were higher than mean scores of pre-test at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49186
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1467
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1467
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kasinee_kar.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.