Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49595
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนีกร เกิดโชค
dc.contributor.authorทัตชญา สมประดิษฐ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2016-10-07T10:20:30Z
dc.date.available2016-10-07T10:20:30Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49595
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท และเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทจาก ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต การทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วย ปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่ ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล ภาระการดูแล การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 180 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 10 ส่วน คือ แบบวัดความรุนแรงของอาการทางจิต การทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วย ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล ภาระการดูแลเชิงปรนัย ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล แบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ และการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวก เครื่องมือทุกชนิดผ่านการพิจารณาความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าความตรง = .89 ทดสอบค่าความเที่ยงทุกฉบับโดยมีค่า Chronbach’s alpha มีค่าเท่ากับ .88, .85, .87, .93, .92, .86, .91, .82, .87 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ และการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวกซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมเท่ากัน 2. ตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา ความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ ได้ร้อยละ 36.2 (R² = .36.2) 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวกของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และการรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต โดยสามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวก ได้ร้อยละ 29.1 (R² = .291) สมการพยากรณ์ในรูปแบบมาตรฐาน คือ Zการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ = .322Zภาระการดูแลเชิงอัตนัย-.257Zการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา +.171Zความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล +.143Zภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล Z การแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวก =-.446Zความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท+.148Zความรุนแรงของอาการทางจิตen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were: 1) to study expressed emotion of family caregivers in schizophrenic patients and 2) to determine the predictors of expressed emotion of family caregivers in schizophrenic patients; perceived severity of illness and social functioning of patients, depressive status of caregivers, burden of care, problem focused coping strategies, ability to care for schizophrenic patient, suffering from caring. Research subjects which were 180 family caregivers of schizophrenic patients receiving mental health treatments in outpatient department from hospitals in department of Mental Health. Research instruments divided into 10 parts; severity of illness of patient, social functioning scale of patient, Beck depression inventory, objective burden scale, subjective burden scale, problem focused coping strategies, patient care ability, sense of suffering, negative expressed emotion and positive expressed motion of family caregivers. All instruments were validity by 5 experts (validity= .89) and reliability with Chronbach’s alpha were 0.88, 0.85, 0.87, 0.93, 0.92, 0.86, 0.91, 0.82, 0.87 and 0.85 respectively. Data were analyzed using mean, SD, and stepwise multiple regression. Major findings were as follow : 1.Expressed emotion of family caregivers in schizophrenic patients include 2 kinds; negative expressed emotion and positive expressed emotion were at the appropriate level. 2. Predictive factors with significantly at .05 levels to negative expressed emotion of family caregivers in schizophrenic patients were perceived subjective burden, problem focus coping strategies, sense of suffering and caregiver’s depression. These predictors were accounted for 36.2 percent (R²= .362). 3. Predictive factors with significantly at .05 levels to positive expressed emotion of family caregiver in schizophrenic patients were patient care ability and perceived severity of illness. These predictors were accounted for 29.1 percent (R²= .291) The Predictive Standardized Score function was: Znegative expressed emotion = .322Z Subjective burden-.257Z Problem focused coping strategies +.171Z sense of suffering+.143Z beck depression inventory Zpositive expressed emotion =-.446Z Patient care ability+.148Z Perceived severity of illness.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1535-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแลen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectSchizophrenics -- Careen_US
dc.subjectCaregiversen_US
dc.titleปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทen_US
dc.title.alternativePredicting factors of expressed emotion of family caregivers of schizophrenic patientsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorรัชนีกร เกิดโชค
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1535-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
touch-chaya_so.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.