Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49722
Title: | การสำรวจแหล่งสะสมตัวของทรายโดยวิธีธรณีฟิสิกส์เพื่อการ ออกแบบและการพัฒนา |
Other Titles: | Sand deposits exploration by geophysical methods for design and development |
Authors: | ณรงค์ศักดิ์ ราชูการ |
Advisors: | สุนทร พุ่มจันทร์ ฐานบ ธิติมากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ทราย การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ Sand Geophysical surveys |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในงานวิจัยนี้ได้นำวิธีธรณีฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้กับการหาแหล่งสะสมตัวของทราย โดยการสำรวจธรณีฟิสิกส์ที่นำมาใช้ ประกอบด้วย การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน การสำรวจวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า การสำรวจด้วยวิธีธรณีเรดาร์ และการสำรวจวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็ก ซึ่งผลที่ได้จากการสำรวจทั้ง 4 วิธีจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบและการพัฒนาบ่อทราย การแปลความหมายข้อมูลจากการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทั้ง 4 แบบ จะได้แบบจำลองการสะสมตัวของชั้นทรายและสามารถนำผลไปเปรียบเทียบกับข้อมูลจริงที่ได้จากหลุมเจาะ ซึ่งผลที่ได้จากการสำรวจด้วยวิธีธรณีฟิสิกส์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่างการกระจายตัวของทราย สามารถสรุปเป็นปริมาณสำรองและลักษณะการสะสมตัวของทรายได้ จากการแปลความหมายข้อมูลจะได้ขอบเขตและความหนาของชั้นทราย การวางตัวของเปลือกดิน ระดับน้ำใต้ดินและขอบเขตรอยต่อระหว่างชั้นต่างๆ เมื่อนำแบบจำลองที่ได้จากผลการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทั้ง 4 แบบ มาเปรียบเทียบกับข้อมูลหลุมเจาะ พบว่า การสำรวจวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า เป็นวิธีการสำรวจธรณีฟิสิกส์ที่เหมาะสมที่สุดในการหาแหล่งสะสมตัวของทราย โดยแบบจำลองทางธรณีวิทยาที่ได้จากวิธีนี้แสดงความต่อเนื่องของการสะสมตัวของชั้นทรายและขอบเขตระหว่างรอยต่อกับชั้นต่างๆอย่างชัดเจน ดังนั้น ข้อมูลที่ได้จะส่งผลให้การคำนวณปริมาณสำรองมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด และในการปฏิบัติงานภาคสนามสามารถเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลได้รวดเร็ว ผลสรุป ในการศึกษาครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าการสำรวจวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าเป็นวิธีที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือมากที่สุดในการสร้างแบบจำลองธรณีฟิสิกส์ใต้ผิวดินเพื่อการสำรวจแหล่งสะสมตัวของทราย สามารถช่วยลดจำนวนหลุมเจาะและลดค่าใช้จ่ายในการสำรวจและสุดท้ายนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการออกแบบและการพัฒนาบ่อทรายได้ |
Other Abstract: | In this study, four geophysical methods were adapted for the sand deposit exploration. The adapted geophysical exploration methods are seismic survey, resistivity survey, ground penetrating radar survey (GPR) and magnetic survey. The results of subsurface geological features, in this case the distribution of sand formation, will provide the basis for the sand pit design and development. In this attempt, the results interpreted from these four geophysical models will be compared in reference to the actual drill holes data. The geophysical survey provides the spatial images of sand formation distribution and also reveal its physical characteristics which in turns can summarize into its overall quantity of reserve and nature of deposit. The interpreted data also presents the extension and thickness of sand layer, overburden, water table, and the boundaries of other layers. The comparison results of these four derived geological models to the drill hole data lead to the conclusion that the resistivity survey is the most suitable geophysical exploration method for sand deposit exploration. The geological model derived from resistivity data generates the most continuity of sand layer and also provides a sharp distinction along the boundary of the deposit, thus the most reliable information for reserve calculation. In term of field operation, resistivity survey yields fast data collection and analysis. In summary, this study shows that the resistivity survey proven to be most suitable and reliable surface geophysical model for sand deposit exploration. This technique can reduce the number of drill hole, and then reduce the exploration cost and finally improve the sand pit design and development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมทรัพยากรธรณี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49722 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1579 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1579 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narongsak_ra.pdf | 4.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.