Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49942
Title: | อิทธิพลของการยืนยันคุณค่าในตนเองและอารมณ์ทางบวก ต่อการประมวลสารโน้มน้าวใจเกี่ยวกับสุขภาพที่คุกคามตน |
Other Titles: | EFFECTS OF SELF-AFFIRMATION AND POSITIVE MOOD ON PROCESSING OF THREATENING HEALTH PERSUASIVE MESSAGE |
Authors: | ศุภมาส ศรีปาน |
Advisors: | วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการยืนยันคุณค่าในตนเองและอารมณ์ทางบวกต่อเจตนาการลดการบริโภคโซเดียมและพฤติกรรมการลดการบริโภคโซเดียม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 122 คน ก่อนจะได้รับการจัดกระทำการยืนยันคุณค่าในตนเองหรือไม่ได้ยืนยันคุณค่าในตนเองและได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวกหรือไม่ได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวก ผู้ร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามวัดพฤติกรรมการบริโภคโซเดียม ได้รับการจัดกระทำตามแต่ละเงื่อนไข จากนั้นอ่านบทความโน้มน้าวใจให้ลดการบริโภคโซเดียม ตอบมาตรวัดเจตนาการลดการบริโภคโซเดียม และเขียนรายงานความคิดที่เกิดขึ้นขณะที่อ่านบทความ หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ผู้ร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามวัดพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมอีกครั้ง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of covariance: ANCOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเองและได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวกมีเจตนาในการลดการบริโภคโซเดียมมากกว่าผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวกเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเองและได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวกและผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเองเพียงอย่างเดียวมีเจตนาในการลดการบริโภคโซเดียมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเองและได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวกและผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวกเพียงอย่างเดียวมีพฤติกรรมในการบริโภคโซเดียมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเองและได้รับการจัดกระทำอารมณ์ทางบวกและผู้ร่วมวิจัยที่ได้รับการยืนยันคุณค่าในตนเองเพียงอย่างเดียวมีพฤติกรรมในการบริโภคโซเดียมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine the effects of self-affirmation and positive mood on processing of threatening health persuasive message. Participants were 122 Thai undergraduate students who were randomly assigned to receive manipulation of self-affirmation vs. no self-affirmation and receive manipulation of positive mood vs. no positive mood. Participants answered a sodium assumption questionnaire and obtained manipulation in each condition then read persuasive message, answered an intention to reduce sodium assumption questionnaire and wrote thought listing task. 2 weeks later participants answered a sodium assumption questionnaire again. Analysis of covariance showed that: 1. Participants in self-affirmation and positive mood condition reported stronger intention to reduce sodium assumption than did participants in positive mood only condition. 2. Participants in self-affirmation and positive mood condition did not report stronger intention to reduce sodium assumption than did participants in self-affirmation only condition. 3. Participants in self-affirmation and positive mood condition did not report stronger sodium assumption than did participants in positive mood only condition. 4. Participants in self-affirmation and positive mood condition did not report stronger sodium assumption than did participants in self-affirmation only condition. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49942 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577630038.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.