Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49989
Title: | การจำลองการขนส่งซีเซียมไอโอไดด์สำหรับ ESBWR ในกรณีหลีกเลี่ยงการกักกันโดยอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ |
Other Titles: | Simulation of CsI transportation in the Esbwr's containment bypass condition |
Authors: | พิณสุรางค์ กิตติวราพล |
Advisors: | สมบูรณ์ รัศมี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | วิศวกรรมนิวเคลียร์ -- มาตรการความปลอดภัย กัมมันตภาพรังสี -- มาตรการความปลอดภัย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ -- มาตรการความปลอดภัย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ -- แง่สิ่งแวดล้อม ซีเซียมไอโอไดด์ Nuclear engineering -- Safety measures Radioactivity -- Safety measures Nuclear power plants -- Safety measures Nuclear power plants -- Environmental aspects Cesium iodide |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์เป็นเครื่องกีดขวางสำคัญสุดท้ายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ช่วยป้องกันการรั่วไหลของนิวไคล์ดกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม หากอาหารคลุมเครื่องปฏิกรณ์เกิดความเสียหายสารกัมมันตรังสีจะถูกปลดปล่อยออกมาทำให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมของซีเซียมไอโอไดด์ (CsI) ในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ ESBWR การรั่วไหลนิวไคล์ดกัมมันตรังสีแบบ Containment Bypass (BYP) ซึ่งเป็นการรั่วไหลประเภทหนึ่งของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ Economic Simplified Boiling Water Reactor (ESBWR) ที่เกิดจากความล้มเหลวในการทำงานของระบบ containment isolation ถูกเลือกให้เป็นแบบจำลองเหตุการณ์อุบัติเหตุ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ART Mod2 ถูกนำมาในการจำลองเหตุการณ์การเคลื่อนที่ของ CsI ในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ ESBWR ภายใต้การรั่วไหลแบบ BYP เมื่อมีการจัดการอุบัติเหตุโดยการเติมน้ำเข้าสู่อาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์และไม่มีการจัดการอุบัติเหตุ โดยในการจัดการอุบัติเหตุจะมีการศึกษาความไวโดยการปรับเปลี่ยนตัวแปร ได้แก่ อุณหภูมิของก๊าซ, อุณหภูมิผนัง, อุณหภูมิของน้ำภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, ขอบเขตช่วงการกระจายตัวของมวลแอโรซอล, อัตราส่วนรูปแบบของ source term (CsI form) ที่เป็นไอต่อแอโรซอล, บริเวณที่เกิดรอยรั่วระหว่างอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์และสิ่งแวดล้อม และ Nodalization ของอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ ผลการวิจัยพบว่าเมื่อมีการจัดการอุบัติเหตุ CsI ที่รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในส่วนของการศึกษาความไวพบว่าอุณหภูมิของก๊าซเพิ่มขึ้นการสะสม CsI ภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ลดลง, อุณหภูมิของผนังที่เพิ่มขึ้นมีการสะสม CsI ลดลง, บริเวณของรอยรั่วระหว่างอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์และสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการสะสม CsI ในขณะที่ตัวแปรที่เหลือไม่ส่งผลมากต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณ CsI ที่สะสม |
Other Abstract: | The primary containment vessel (PCV) is the last barrier of the nuclear power plant that protects release of radionuclides to environment. If the containment fails, radionuclides are released and the environment is contaminated that affects health, life and possession. This research is study the behavior of CsI in the ESBWR’s containment. The containment bypass (BYP) is one of the radionuclides release categories of Economic Simplified Boiling Water Reactor (ESBWR) which occurs due to the containment isolation system failure was used as a simulation case of accident. ART Mod2 program was used to simulate the behavior of CsI in the ESBWR’s containment under containment bypass condition (BYP) when there is an accident management, by feeding water inside the containment, and no accident management. In case of accident management, the sensitivity study was studied by varying gas temperature, wall temperature, water temperature of the containment, mass range of aerosol distribution, the form of CsI proportion (vapor : aerosol ratio), the positions of the containment leak and the ESBWR nodalization. The research found that release of CsI obviously decrease when accident management applied. In part of the sensitivity study, increasing of gas temperature reduced the accumulated CsI. When wall temperature increased, the the accumulated CsI decreased. By changing the positions of the containment leak, the accumulated CsI changed while the remainder variables had minor effect on CsI accumulation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49989 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1314 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1314 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670310021.pdf | 6.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.