Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50034
Title: | ระบบตรวจสอบความผิดพลาดในการนำเข้าข้อมูลของบริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค |
Other Titles: | Data input error detection system in consumer product company |
Authors: | ภาคภูมิ รุ่งเรืองนานา |
Advisors: | โอฬาร กิตติธีรพรชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ การวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ Management information systems Enterprise resource planning |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการจัดการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในแง่มุมของการผลิต ตัวอย่างเช่น การใช้ข้อมูลผลิตร่วมกันภายในองค์กร การรวมข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเฉพาะไว้ด้วยกันในฐานข้อมูล และยังสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขององค์กร ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีการดำเนินการและปรับปรุงกระบวนการมานานหลายทศวรรษแล้วก็ตาม แต่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังคงประสบปัญหาเรื่องคุณภาพของข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำสืบเนื่องมาจากการป้อนข้อมูลไม่ถูกต้องหรือขาดความรู้ในการนำเข้าข้อมูล ในวิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ได้คุณภาพของบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่างชาติที่มีสาขาในประเทศไทย พบว่าข้อมูลที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านั้นทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการผลิตและการนำส่งสินค้า ซึ่งข้อกำหนดในการส่งผ่านข้อมูลเพื่อแก้ไขนั้นจำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลไปให้ทางสำนักงานใหญ่ที่ดูแลระบบบริหารทรัพยากรองค์กรกลางอยู่ทำการแก้ไขความถูกต้องก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป เนื่องจากข้อกำหนดในการส่งผ่านข้อมูลดังกล่าวทำให้ต้องมีการจัดประเภทแหล่งที่มาของข้อมูลที่ไม่ได้คุณภาพ กล่าวคือข้อมูลผิดพลาด หายไปของข้อมูล และข้อมูลเกิน และสร้างกระบวนการตรวจสอบแบบย้อนกลับเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของและความสอดคล้องข้อมูลก่อนส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบบริหารทรัพยากรองค์กรกลาง ขั้นตอนที่นำเสนอในการแก้ปัญหาดังกล่าวประกอบด้วย 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องกันคือ ก่อนการนำเข้าข้อมูลต้องมีการจัดอบรมผู้ใช้งานโดยผู้ดูแลระบบบริหารทรัพยากรองค์กรในประเทศ โดยเน้นถึงข้อผิดพลาดและปัญหาที่พบกับผู้ใช้งานบ่อยครั้ง ขั้นตอนต่อมาเกิดขึ้นพร้อมกับการนำเข้าข้อมูลโดยมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งผ่านข้อมูลเข้ารู้ระบบบริหารทรัพยากรองค์กรส่วนกลาง โดยโปรแกรมนี้จะช่วยผู้ใช้งานในเรื่องของการป้อนค่าคงที่ของข้อมูล การอธิบายความหมายข้อมูลแต่ละค่า ป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น และตรวจสอบข้อมูลกับกฎพื้นฐานทางธุรกิจขององค์กร ท้ายที่สุดคือการนำข้อมูลที่ส่งเข้าระบบแล้วมาตรวจสอบด้วยโปรแกรมเพื่อสะท้อนผลไปปรับปรุงเนื้อหาการอบรม และพัฒนาโปรแกรม หลังจากใช้กระบวนการดังกล่าวเป็นเวลา 5 เดือนพบว่าความผิดพลาดและความล่าช้าได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากความผิดพลาดที่ตรวจพบ 90.55 เปอร์เซ็นต์ ลดเหลือ 3.02 เปอร์เซ็นต์ |
Other Abstract: | Information technology has become an essential part of modern industrial management as it plays a pivotal role in terms of manufacturing as sharing the best practices, compiling with local regulations and standards, and handling rapid changes within an organization. Despite many decades of adaptation and implementation, the information technology is plagued with poor quality data from inaccuracy or ignorance of a data entry. In this thesis, we examined the poor quality data of an international consumer goods company that has a regional office in Thailand and found that they could cause delays in production and delivery as the company’s protocol requires the head quarter to correct and overwrite the data in a central ERP (Enterprise resource planning) system before proceed. Because of this protocol, we categorized the sources of such poor quality data and devised a regional procedure to ensure the accurate and aligned data before incorporated into the ERP system. The proposed procedure is composed of three interdependent steps. Before resume the data entry, the first step requires regional system administrators to train and share common mistakes and errors with operators. The next step occurs simultaneously during the data entry as the process in embedded into a new application that connect with the center ERP system. The application helps operators entering default values, explaining meaning of each field, preventing typos, and monitoring business rules. Having submitted the data to the ERP system, the last step is a feedback step that updates the training materials and improves the application. After 6 months of adoption of the new procedure, the error and delay are significantly reduced, particularly from 90.55% to 3.02%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50034 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1325 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1325 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670944921.pdf | 6.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.