Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50070
Title: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร |
Other Titles: | Predicting factors of health behavior in patients with cardiac permanent pacemaker |
Authors: | ทิพนันท์ ปันคำ |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | ตัวคุมจังหวะหัวใจ การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง การประเมินพฤติกรรม Cardiac pacemakers Self-care, Health Behavioral assessment |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์และอำนาจทำนายระหว่างปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ อัตมโนทัศน์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 – 59 ปี เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ ของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ โรงพยาบาลราชวิถีและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 128 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร 3) แบบวัดอัตมโนทัศน์ 4) แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 5) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบวัดการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ และ 7) แบบวัดพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร แบบสอบถามหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.66, 0.86, 0.78, 0.95, 0.81 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบถดถอยแบบใช้ทุกตัวแปรเป็นตัวทำนาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร มีพฤติกรรมสุขภาพภายหลังได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรโดยรวมอยู่ในระดับดี (= 33.3, SD = 3.9) 2. การสนับสนุนทางสังคม ความรู้ และอัตมโนทัศน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .523, .508 และ .369 ตามลำดับ) แต่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ 3. ความรู้ อัตมโนทัศน์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงบริการของสถานบริการสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร ได้ร้อยละ 44 (R2 = .44, p < .05) |
Other Abstract: | The purpose of this research study was to examine the relationships and prediction of predisposing factors (including knowledge, self-concept, and self-esteem), reinforcing factor (social support), and enabling factor (accessibility to health care services) on health behavior. One hundred and twenty-eight out-patients who had cardiac permanent pacemakers (both males and females) aged between 18 and 59 years were recruited from cardiac permanent pacemaker clinics located at the Bhumibol Adulyadej Hospital, Rajavithi Hospital, and Chulalongkorn Hospital with multi-stage sampling technique. The instruments were composed of 1) demographic information 2) knowledge of cardiac permanent pacemaker 3) self-concept scale 4) self-esteem scale 5) social support instrument 6) accessibility of service questionnaire and 7) health behavior questionnaire. The reliabilities of these questionnaires were 0.66, 0.86, 0.78, 0.95, 0.81, and 0.71, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient and enter regression were used to analyze data. The major findings were as follows: 1. The mean score of health behavior among patients with cardiac permanent pacemaker was good (= 33.3, SD = 3.9) 2. Social – support, knowledge and self-concept were positively related to health behavior in patients with cardiac permanent pacemaker at the level of .05 (r = .523, .508, and .369, respectively). There were no relationships of self – esteem and accessibility of service on health behavior among the subjects. 3. Knowledge, self-concept, self – esteem, social – support, and accessibility of service explained 44% (R2 = .44, p < .05) of total variances of health behavior in patients with cardiac permanent pacemaker. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50070 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.782 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.782 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5677175936.pdf | 9.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.