Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50099
Title: | กระบวนการผลิต การนำเสนอ และการสร้างความหมายเชิงสัญญะในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ |
Other Titles: | Production, Presentation and Signification of The Voice Thailand |
Authors: | กะรัตพลอย ถ้ำแก้ว |
Advisors: | สุกัญญา สมไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | รายการโทรทัศน์ -- วิจารณ์ รายการโทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ (รายการโทรทัศน์) -- การผลิตและการกำกับรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ (รายการโทรทัศน์) -- วิจารณ์ รายการโทรทัศน์ประเภทคอนเสิร์ต -- ไทย -- การวิจารณ์และการตีความ รายการโทรทัศน์ประเภทคอนเสิร์ต -- ไทย -- การผลิตและการกำกับรายการ Television programs -- Reviews Television programs -- Production and direction The Voice Thailand (Television programs) -- Production and direction Concert television programs -- Thailand -- Criticism and interpretation Concert television programs -- Thailand -- Production and direction |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิต เนื้อหา และวิธีการนำเสนอ รวมทั้งวิเคราะห์ความหมายและการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเนื้อหาและวิธีการนำเสนอในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ซึ่งเป็นรายการที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดเรื่องกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ แนวคิดเรื่องการสื่อความหมายในรายการโทรทัศน์ แนวคิดทฤษฎีสัญวิทยา แนวคิดเรื่องรายการเรียลิตีเกมโชว์ และแบบจำลององค์กรสื่อสารมวลชนท่ามกลางภาวะอัตลักษณ์ท้องถิ่นร่วมสมัย (Glocalization) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับทีมผู้ผลิต ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตของรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ มีการถ่ายทำรายการแบบแบ่งถ่ายเป็นช่วงและการถ่ายทำแบบดำเนินรายการต่อเนื่อง โดยมีการบันทึกเทปเอาไว้ทุกกล้องและไม่มีการกำหนดเรื่องราวโดยสคริปต์แบบสมบูรณ์ แต่มีการควบคุมเรื่องราวและเนื้อหาในขั้นก่อนและหลังการผลิต อีกทั้งมีการควบคุมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในทุกขั้นตอนการผลิต ในส่วนเนื้อหาและวิธีการนำเสนอ พบว่า มีวิธีการนำเสนอใน 2 รูปแบบสำคัญ ได้แก่ รูปแบบการแข่งขันบนเวที และรูปแบบวีทีอาร์ต่างๆ ซึ่งมีการตัดสลับระหว่าง 2 รูปแบบการนำเสนอดังกล่าวตลอดทั้งรายการ ในส่วนความหมายเชิงสัญญะในรายการ พบว่า มีการสร้างความหมายเชิงสัญญะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มความหมาย ได้แก่ 1) ความหมายเกี่ยวกับ “นักร้อง” 2) ความหมายเกี่ยวกับการแข่งขัน 3) ความหมายเกี่ยวกับ “รายการ” และ 4) ความหมายพิเศษอื่นๆ โดยแต่ละความหมายเกิดจากการสร้างความหมายผ่านสัญญะประเภทต่างๆ ได้แก่ สัญญะภาพ สัญญะคำพูด สัญญะเพลง สัญญะจากประวัติและชื่อเสียงของโคชรวมทั้งการแสดงของโคช ประกอบกัน สำหรับปัจจัยภายในองค์กรการผลิตที่มีอิทธิพลต่อเนื้อหาและการนำเสนอในรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการควบคุมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ 2) ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ผลิต ประกอบด้วยผู้ผลิต ฝ่ายผลิต และทีมกำกับดนตรี 3) ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ร่วมรายการ ประกอบด้วยโคชและผู้เข้าแข่งขัน และปัจจัยภายนอกองค์กรการผลิต ได้แก่ 1) ปัจจัยผู้รับสาร ประกอบด้วย ปัจจัยผู้รับสารด้านผลตอบรับ (Feedback) และปัจจัยผู้รับสารด้านกลุ่มเป้าหมาย (Target group) 2) ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางสังคมและการเมือง 3) ปัจจัยด้านระบบลิขสิทธิ์เพลง 4) ปัจจัยผู้สนับสนุนรายการ |
Other Abstract: | This qualitative research aims to study the production, presentation and signification of the licensed reality TV program, entitled “The Voice Thailand”, and to analyze the internal and external media organization’s factors which affect its text and presentation. The Television production, Television presentation, Semiology, Reality game show and the Model of media organization in a field of social forces through glocalization concepts are applied along with textual analysis and in-depth interview methodology as research tools. The finding about its production shows that the program is partially-scripted and recorded through multi cameras system, which allows the contents to be changed and shaped by editing in the postproduction process. The program is controlled by the license’s owner in all production processes. The presentation of the program consists of 2 main presentation forms, which are On-stage form and VTRs form. The analyzing on program’s signification finds that there are 4 main groups of connotative meaning constructed as follow; 1) the meaning of “singer” 2) the meaning of “contest” 3) the meaning of “The Voice” as the distinctive program and “Coach” 4) other special meanings, which are all constructed via the different combination of signs. The internal media organization’s factors which affect the program are 1) program’s license ownership 2) local production team 3) coach and contestant, while the external media organization’s factors are 1) audience 2) social and political situation 3) music license 4) sponsorship |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50099 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.995 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.995 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684653628.pdf | 8.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.