Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50167
Title: | กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน |
Other Titles: | University research network management strategies to enhance sustainable development |
Authors: | ฐิชากาญจน์ พัชรจิราพันธ์ |
Advisors: | นันทรัตน์ เจริญกุล พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | การศึกษา -- วิจัย การบริหารการศึกษา -- แง่ยุทธศาสตร์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ Education -- Research Strategic planning |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามในการบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และนักวิจัยโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก และนักวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ประจำปีงบประมาณ 2557-2558 ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกประเด็น 2) จุดแข็งในการบริหารการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การบริหารด้านการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเครือข่าย ด้านการจัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกเครือข่าย ด้านการจัดระบบสื่อสารของเครือข่าย ด้านการจัดการให้เกิดการได้ประโยชน์ของสมาชิกทุกฝ่ายภายในเครือข่าย ด้านการบริหารจัดการเครือข่ายโดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงานและหลักความโปร่งใส ด้านการติดตามตรวจสอบและประเมินผลเครือข่าย ในขณะที่จุดอ่อนในการบริหารการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่การบริหารด้านการจัดผังกลุ่มเครือข่าย ด้านการสร้างแผนงานเครือข่าย ด้านการสรรหาแหล่งทุนอื่นๆ สร้างแม่แบบสัญญาและขั้นตอนการจัดการด้านการเงินของเครือข่าย ด้านการจัดการให้เกิดพันธะสัญญาของสมาชิกเครือข่าย ด้านการสร้างการสนับสนุนด้านการปฏิบัติการของเครือข่าย ด้านการจัดวางโครงสร้างทรัพยากรบุคคลของเครือข่าย ด้านการวางแนวทางในการจัดการกับปัจจัยต่างๆซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานของทีมงานเครือข่าย ด้านการจัดระบบสารสนเทศของเครือข่าย ด้านการจัดระบบการเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่าย ด้านการกระตุ้นให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมเครือข่าย ภาวะคุกคามต่อการบริหารการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายนอกด้านการเมืองและนโยบายรัฐ และสภาพเศรษฐกิจ ในขณะที่สภาพสังคมและสภาพทางเทคโนโลยีเป็นโอกาสต่อการบริหารการวิจัยของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่1 ยกระดับขีดความสามารถในการบริหารการวิจัยต้นทางของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อการเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค กลยุทธ์หลักที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารการวิจัยระหว่างทางของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาเพื่อการเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่นแต่ละภูมิภาคและกลยุทธ์หลักที่ 3 พัฒนาประสิทธิผลการบริหารการวิจัยปลายทางของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา |
Other Abstract: | The purposes of this study were 1) to study the current and desirable states of university research network management to enhance sustainable development; 2) to analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats in university research network management to enhance sustainable development ; 3) to develop university research network management strategies to enhance sustainable development. Data were collected from 74 administrators and researchers. Statistical analysis adopted to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation and PNI modified. The results showed as follows 1) The average of the desirable states of management were higher than the current states in all aspects. 2) Strengths in management of university research network to enhance sustainable development were determination of the goal and objective of the network, determination of role and responsibilities of network members, management of communication system, achievement of the win-win scenario of the network members, management underpinned by quality of work and transparency, assessment of the network management. Whereas weaknesses in management of university research network to enhance sustainable development were mapping and developing work plans of the network, obtainment of alternative financial resources for the network execution and developing contract templates and financial procedures, procuring the commitment of network members, developing the operational support for the network execution, managing human resource structure of the network, formulating operational guidelines to cope with factors which effectively determine the operational outcome of the network, managing the information system of the network, managing the knowledge system of the network and activating network members participation in the network. Politics and State policy and economic factors were threats to management of university research network to enhance sustainable development. Whereas societal and technological factors were opportunities to management of university research network to enhance sustainable development. 3) University research network management strategies to enhance sustainable development comprised 3 main strategies. The first main strategy was raising the capacity of the up stream research management of the university research network to enhance sustainable development of the regional communities. The second main strategy was escalating the efficiency and effectiveness of the mid stream research management of the university research network to enhance sustainable development of the regional communities. And the third was increasing the effectiveness of the down stream research management of the university research network to enhance sustainable development of the regional communities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50167 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1123 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1123 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384246627.pdf | 16.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.