Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพล ดุรงค์วัฒนาen_US
dc.contributor.advisorพักตร์ผจง วัฒนสินธุ์en_US
dc.contributor.advisorศุภกานต์ พิมลธเรศen_US
dc.contributor.authorนภาภรณ์ ทักษิณนิมิตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:02:22Z
dc.date.available2016-12-01T08:02:22Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50199
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะสภาพแวดล้อมขององค์การ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนความรู้ มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรมองค์กร และพัฒนาระบบประเมินความสามารถทางนวัตกรรมองค์กร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่สถานทูต และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณทำการรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และจดหมายอิเลคทรอนิกส์ถึงเจ้าหน้าที่สถานทูต 400 ฉบับ ของหน่วยงานสถานทูตต่างประเทศในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 74 หน่วยงาน ได้แบบสอบถามส่งคืน จำนวน 285 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 71.25 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กซึ่งเป็นหน่วยงานต่างชาติที่ประจำอยู่ในประเทศไทย และมีนโยบายเกี่ยวกับนวัตกรรม มีการจัดกิจกรรมให้เจ้าหน้าที่สถานทูตแสดงความคิดเห็น และมีความคิดสร้างสรรค์ มีแผนกที่รับผิดชอบด้านนวัตกรรม แยกออกจากแผนกอื่น มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ที่ทำงานควบคู่ไปกับหน้าที่งานอื่น นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งทีมงานนวัตกรรมข้ามสายงานและบางแผนกมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก แต่ไม่มีการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมอย่างชัดเจน ในการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ลักษณะสภาพแวดล้อมขององค์การ โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กร การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การฝึกอบรมพัฒนา การให้รางวัลตามสถานการณ์ การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กร การมีทรัพยากรที่เพียงพอ การแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์การ เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความสามารถในการสร้างนวัตกรรมองค์การ การพัฒนาแบบประเมิน โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ได้แบบประเมินจำนวน 57 ข้อ ได้นำระบบประเมินขึ้นเว็บไซต์เพื่อให้ในหน่วยงานสถานทูตทดลองใช้ พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจระบบประเมินโดยรวมในระดับมากen_US
dc.description.abstractalternativeThe study aimed to explore relationship among the organizational environment, human resource management, learning organization and knowledge sharing activities that affected organizational innovativeness activities that support innovation and develop organizational innovation capability self assessment system. The mixed method was used for gathering the data, which can be categorized into two parts. The qualitative study by the interviewing the embassy officials using content analysis to analyze the data. The quantitative study of 400 embassy officials from 74 foreign diplomatic missions in Thailand, through the mail questionnaire. The 285 questionnaires were returned 71.25 percent ,and data analysis employed Pearson Product Moment Correlation, and Multiple regression analysis through the use of a statistical package program. The findings showed that sample is large, medium small units with units stationed in foreign diplomatic missions in Thailand. The organizations set innovation strategies and staff activities that promoted creativity. Meanwhile, the organizations set the department unit that responsible for innovation and separated from other agencies. Each department will be responsible directly to work alongside the function. Also, the establishment of innovative cross-functional team and some units have cooperation with external unit. The organizations established unclear innovation criteria for assessing individual performance. The relationship between organizational environments human resource management learning organization and knowledge sharing was positive, and the factors that could predict organizational innovativeness were to meet the needs of both internal and external customers, the cooperation between agencies, training and development, reward, the change of leader support organization, sufficient resources and knowledge sharing. Assessment development used Exploratory Factor Analysis. The final assessments consisted of 57 items and the opinion survey of system implementing revealed that the users were satisfied.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.930-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดองค์การ
dc.subjectการพัฒนาองค์การ
dc.subjectการบริหารงานบุคคล
dc.subjectOrganization
dc.subjectOrganizational change
dc.subjectPersonnel management
dc.titleระบบการประเมินความสามารถทางนวัตกรรมของสถานทูตต่างประเทศในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeAssessment systems for organizational innovation capability of foreign missions in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.930-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487774220.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.